ความเข้มแข็งทางใจและเจตคติในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ตามหลักหลักสัปปุริสธรรม 7 ของนักเรียนแพทย์ทหาร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเชิงสำรวจนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้มแข็งทางใจและเจตคติการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของนักเรียนแพทย์ทหาร วิทยาลัยแพทยศาสตร์แห่งหนึ่ง ปีการศึกษา 2563 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนแพทย์ทหาร ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้น ปีที่ 1-6 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 201 คน
เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 3 ชุด ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความเข้มแข็งทางใจและเจตคติการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 มีค่าความเที่ยงของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.97 และค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดทั้งฉบับ โดยใช้วิธีการหาสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha coefficient) เท่ากับ 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาแพทย์ทหารส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 62) เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2543
(ร้อยละ 42) เข้าศึกษาในปี พ.ศ. 2561(ร้อยละ 36) กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 3 (ร้อยละ 44) มีเกรดเฉลี่ยสะสมอยู่ระหว่าง 3.25-3.49 (ร้อยละ 39) โดยสื่อสังคมออนไลน์ที่นิยมใช้คือ Line Facebook YouTube และ Instagram ช่วงเวลาที่ใช้จะอยู่ระหว่าง 04-.01-08.00น. โดยมีความในการเข้าใช้งานมากกว่า 1 ครั้ง/วัน (ร้อยละ 96) โดยใช้เวลามากกว่า 3 ชั่วโมง (ร้อยละ 35) อุปกรณ์ที่ใช้งานคือโทรศัพท์มือถือ/สมาร์ทโฟน(ร้อยละ 95) เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ใช้บริการมากที่สุดคือ Line เหตุผลหลักในการใช้คือเพื่อค้นหาเพื่อนใหม่(ร้อยละ 90) ส่วนใหญ่มีเพื่อน 501 คนขึ้นไป (ร้อยละ43) มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่าหรือเท่ากัน 10,000 บาท(ร้อยละ 78) ในด้านความเข้มแข็งทางใจของนักเรียนแพทย์ทหาร ชี้ว่า โดยภาพรวมนักเรียนแพทย์ทหารฯ มีความเข้มแข็งทางในอยู่ในระดับมาก ( =3.64, =0.93) เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงลำดับตามคะแนนเฉลี่ย พบว่า นักเรียนแพทย์ทหารมีความเข้มแข็งทางใจด้านการจัดการกับปัญหา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มาก ( =3.64, =0.87) ด้านกำลังใจ
มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มาก ( =3.53, =0.95) ด้านความทนทานทางอารมณ์ ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.48 S.D.=0.98) ตามลำดับ ผลการวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นว่านักเรียนฯมีความทนทานทางอารมณน้อยกว่าความเข้มแข็งทางใจด้านอื่นๆ ดังนั้น หากมีการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่นักเรียนฯเพื่อเสริมสร้างให้ความสามารถทีดีขึ้นในการบริหารจัดการอารมณ์ที่ดีขึ้นก็จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนและการใช้ชีวิตของนักเรียนแพทย์ทหาร ในด้านเจตคติในการใช้สื่อสังคมออนไลน์โดยประยุกต์จากหลักสัปปุริสธรรม 7 โดยภาพรวม นักเรียนแพทย์ทหารระดับคะแนนเฉลี่ยเจตคติในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ประยุกต์ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 อยู่ในระดับ มาก ( =4.00, =0.78) เมื่อพิจารณาด้านที่มีค่าเฉลี่ยคะแนนน้อยที่สุดสามอันดับแรก พบว่า กาลัญญุตา(ความเป็นผู้รู้จักกาล) ( =3.79, =0.82) ปริสัญญุตา(ความเป็นผู้รู้จักชุมชน) ( =3.98, =0.78)
และความเป็นผู้รู้จักตน(อัตตัญญุตา) ( =4.01, =0.75) มีค่าเฉลี่ยคะแนนน้อยที่สุด ผลการวิจัยนี้สะท้อนให้เห็นว่าควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนแพทย์ด้านการบริหารจัดการเวลาในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ การปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมในสื่อสังคมออนไลน์และการสำเสนอตนเองตลอดจนการรักษาความเป็นตัวในสื่อสังคมออนไลน์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กชกร บุญยพิทักษ์สกุล. (2561). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างรู้เท่าทันของนักศึกษาปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
กรมสุขภาพจิต.(2565). แบบประเมินความเข้มแข็งทางใจ. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2565, จาก http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/ประชุม/20-21_11_61/C_3.pdf
ดวงสมร บุญผดุง. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อจิตวิญญาณในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ ในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.
นิคม ชัยขุนพล. (2560). ลักษณะปฏิสัมพันธ์การสื่อสารจากพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมเครือข่ายออนไลน์ของคนไทย. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 27(2), 55-65.
นิจวรรณ เกิดเจริญ, วรุณา กลกิจโกวินท์ และจอมเฑียร ถาวร. (2564). พลังสุขภาพจิต ผลกระทบต่อจิตใจและปัจจัยจากโรคโควิด 19 ที่มีผลต่อสุขภาพจิตของนักศึกษาแพทย์ ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19. วารสารวชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง, 65(ฉบับเพิ่มเติม), 101-116.
ปฐพร แสงเขียว และคณะ. (2565). ความเข้มแข็งทางใจ และการปรับตัวของนักศึกษาพยาบาล ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์,14(1), 62-77.
พรพรรณ จันทร์แดง.(2559). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยพะเยา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 4(2), 44-54.
พรรณิการ์ พุ่มจันทร์, นุชรี หงส์เอี่ยม และพัชราพรรณ อุดมเพ็ชร. (2558). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาแพทย์ระดับปรีคลินิกของคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล, วารสารเวชบันทึกศิริราช, 8(1), 27-35.
พระครูสังฆรักษ์ปรีชา ฐิตญาโณ. (2564). สัปปุริสธรรม: เพื่อการดำรงชีวิตสมัยใหม่.วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(7), 16-26.
พระพรหมคุณาภรณ์. (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 36). กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.
พระวงษ์ทอง สุภทฺโท (ต่อมคำ), ประยูร แสงใส. (2563) การจัดการเรียนรู้ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 สาระหน้าที่พลเมืองวัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. Journal of Buddhist Education and Research : JBER, 6(1), 256-257.
พัชรี ถุงแก้วและณีร์นรา ดีสม. (2564). ความเข้มแข็งทางในสำหรับวัยรุ่นในภาวะวิกฤต. วารสารครุศาสตร์ มหาวทิยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 1(1), 67-79.
อุรารัตน์ ชัยรังสี. (2565). สัปปุริสธรรม 7: เพื่อการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์. วารสารพุทธนวัตกรรมปริทรรศน์, 3(1), 69-79.
Foresight. (2565). ETDA เผย ปี 62 คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 10 ชั่วโมง 22 นาที Gen Y ครองแชมป์ 5 ปีซ้อน. Retrieved January 28, 2022, from https://www.etda.or.th/th/NEWS/ETDA-Revealed-Thailand-Internet-User-Behavior-2019.aspx
Kind, T., Patel, P.D., Lie, D.A. (2013). Opting into online professionalism: Social media and pediatrics. Pediatrics, 132 (5), 792-793.