ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการเรียนการสอนวิชาการฝึกยุทธวิธีตำรวจ ตามหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการตำรวจ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

Main Article Content

รัตน์ชัย บูรณาภา
ดิฐภัทร บวรชัย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการจัดการเรียนการสอนวิชาการฝึกยุทธวิธีตำรวจ 1–4 ให้บรรลุกับมาตรฐานการเรียนรู้ ตามหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการตำรวจ หลักสูตรปรับปรุงพ.ศ. 2561 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการจัดการเรียนการสอนวิชาการฝึกยุทธวิธีตำรวจ 1–4
ให้บรรลุกับมาตรฐานการเรียนรู้ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการจัดการเรียนการสอนวิชาการฝึกยุทธวิธีตำรวจ
1–4 ให้บรรลุกับมาตรฐานการเรียนรู้ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการสัมภาษณ์เชิงลึก ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนนายร้อยตำรว จ 2 คน อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตร 2 คน นักเรียนนายร้อยตำรวจ
4 คน อาจารย์ประจำวิชาการฝึกยุทธวิธีตำรวจ 1 – 4 2 คนกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์มาตรฐานการเรียนรู้
2 คน เจ้าหน้าที่ประกันคุณภาพการศึกษา 2 คน ผู้ใช้บัณฑิต 2 คนรวมจำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ชิงลึก การวิเคราะห์ใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัย พบว่า มีปัญหา ได้แก่ ด้านหลักสูตร ด้านการสอน ด้านการวัดผลประเมินผล  ด้านการบริหารจัดการและการดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จ ปัญหาเกี่ยวกับผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่ในการฝึกยุทธวิธีตำรวจ ได้แก่ ด้านบุคคลากร ด้านการจัดการของผู้บริหาร ส่วนแนวทางในการจัดการเรียนการสอนวิชายุทธวิธีตำรวจ ได้แก่ การดำเนินการของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ในการฝึก การบูรณาการร่วมกันกับภาควิชาการและการฝึก และการฝึกการปฏิบัติยุทธวิธีตำรวจต้องคำนึงถึงหลักกฎหมาย ได้แก่ มีอะไรที่ทำได้และทำไม่ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บุญยฤทธิ์ ปิยะศรี และมาเรียม นิลพันธุ์. (2558). รูปแบบการพัฒนาวิชาชีพครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการสอนที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย,7 (1), 98-109.

พลวัชร พลดงนอก และพัฒน์ศิณ สำเริงรัมย์. (2558). ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจในเขตอำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). วิทยาลัยนครราชสีมา.

มีชัย สีเจริญ และคณะ. (2554). แนวทางพัฒนาการศึกษาสู่ความเป็นเลิศในวิชาชีพตำรวจ. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 49: สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: หน้า 114-125.

มีชัย สีเจริญ. (2560). หลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจมุ่งสู่ความเป็นวิชาชีพตำรวจ: ทิศทางในทศวรรษหน้า (พ.ศ.2555-พ.ศ.2564). สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2564, จาก http://ar.or.th /ImageData /Magazine/10046/DL_10335.pdf?t=637203229838609370

วิทยา ราชแก้ว. (2558). แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของตำรวจฝ่ายสืบสวนกองกำกับการสืบสวนตำรวจภูธรจังหวัดร้อยเอ็ด (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. ( 2552). การจัดทำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย (Thai Qualifications Framework for Higher Education ; TQF : HEd). สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2562, จาก http://www.mua.go.th/users/tqf-hed/

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2555). นโยบายการบริหารราชการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานตำรวจแห่งชาติ.

สุริยา ทองจรัส. (2559). การศึกษาสภาพ ปัญหา และแนวทางแก้ปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

อาริตา สาวดี. (2553). สภาพปัญหาและความต้องการการเรียนการสอนภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา ปีที่ 3ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.