ประสิทธิผลของกระบวนการบำบัดผู้ติดสารเสพติดแบบวิถีใหม่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

Main Article Content

พิมพ์ลภัส บัวครื้น

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษากระบวนการบำบัดแบบวิถีใหม่ และประสิทธิภาพของการบำบัดในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กลุ่มตัวอย่างจำนวน 35 คน คือ ผู้ติดสารเสพติดที่มารับบริการที่คลินิกฟ้าใส โรงพยาบาลบางบัวทอง มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด ได้รับการบำบัดด้วยเมทริกซืโปรแกรมติดต่อกันเป็นระยะเวลา 4 เดือนหรือ 120 วัน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย 1) กระบวนการบำบัดผู้ติดยาเสพติดแบบวิถีใหม่ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากการวิเคราะห์การปฏิบัติงานและแนวปฏิบัติที่ดีร่วมกับการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 2) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล
3) แบบประเมินความรู้และทักษะชีวิต มีค่าความเชื่อมั่นด้วยสูตรคูเดอร์ริชาร์ดสัน 20 (K.R.20) = 0.86 4)
แบบประเมินความพึงพอใจ และ 5) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน เก็บข้อมูลก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณาและการทดสอบสถิติที่ไม่เป็นอิสระจากกัน (Paired t-test)


ผลการศึกษา พบว่า 1) กระบวนการบำบัดแบบวิถีใหม่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ของโรงพยาบาลบางบัวทอง ตามรูปแบบการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดแบบผู้ป่วยนอกรูปแบบ กาย จิต สังคมบำบัด (Matrix Program) แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 เตรียมการบำบัด ระยะที่ 2 บำบัดที่โรงพยาบาล ระยะที่ 3 บำบัดแบบออนไลน์ และระยะที่ 4 สรุปผลการบำบัด
และ 2) ค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้และทักษะชีวิตของกลุ่มตัวอย่างหลังเข้าร่วมกระบวนการบำบัดแบบวิถีใหม่
(gif.latex?\bar{x}= 26.17 S.D. = 2.32) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมการบำบัดแบบวิถีใหม่ (gif.latex?\bar{x}= 6.31, S.D. = 2.18) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-48.40, p<.05) กลุ่มตัวอย่างทุกคนสามารถเข้ารับการบำบัดได้ครบ ระดับความพึงพอใจรูปแบบการบำบัดโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เท่ากับ (gif.latex?\bar{x}=3.88 S.D.=0.04) และจากการติดตามผลหลังการบำบัด 6 เดือนพบว่าสามารถเลิกสารเสพติดได้สำเร็จ คิดเป็นร้อยละ 100 ดังนั้น กระบวนการบำบัดแบบวิถีใหม่ของโรงพยาบาลบางบัวทองเป็นการให้การพยาบาลทางไกลที่มีประสิทธิภาพ ผู้วิจัยเสนอแนะว่าควรนำโปรแกรมการบำบัดแบบวิถีใหม่นี้ไปใช้เพื่อลดปัญหาการเลิกรับการบำบัดกลางคันของผู้รับการบำบัดเมื่อมีการยกเลิกนัดหมายที่โรงพยาบาลใน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แนวทางการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดวิถีใหม่เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแบบควบคุมตัว. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2564, จาก https://phdb.moph.go.th/ main/index/detail/30765

จิรฉัตร ถิ่นไพโรจน์ และนวพร หิรัญวิวัฒน์กุล. (2561). ผลของการเข้ารับการบำบัดด้วยโปรแกรมเมทริกซ์ต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยยาเสพติดโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. เวชสารแพทย์ทหารบก, 71(1), 3-10.

นริศรา งามขจรวิวัฒน์, สุนทรพจน์ ชูช่วย และสุพิศพร แก้วชื่น. (2563). การประเมินการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดแบบผู้ป่วยนอกรูปแบบ กาย จิต สังคมบำบัด (Matrix Program) โรงพยาบาลธัญญารักษ์ปัตตานี ปีงบประมาณ พ.ศ.2562-2563 (รายงานการวิจัย). โรงพยาบาลธัญญารักษ์ปัตตานี.

นีรนุช โชติวรางกูล. (2564). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความรู้ร่วมกับการบำบัดระบบเมทริกซ์โปรแกรมในผู้ป่วยยาเสพติดเพื่อป้องกันการเสพซ้ำ. วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3,18(3), 203-224.

พรทิพย์ โชครุ่ง, ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์, ดวงใจ วัฒนสินธุ์ และเวทิส ประทุมศรี. (2559). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างการรับรู้ความสามารถแห่งตนในการเลิกเสพยาต่อความตั้งใจในการเลิกเสพของผู้เสพติดสารแอมเฟตามีน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีกรุงเทพ, 32(3), 37-50.

พิมพ์ลภัส บัวครื้น, ยมฤดี เธียรโชติ และณิฌานันท์ สุคนธมาลี. (2563). การบำบัดรักษาผู้มีปัญหายาเสพติดภายใต้สถานการณ์ COVID-19. การนำเสนอผลงานวิชาการทางวาจา การอบรมเชิงปฏิบัติการ Online เพื่อพัฒนาศักยภาพนักจัดการระบบและทีมสหวิชาชีพในการบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติด (System Manager& Case Manager: SMCM). ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พิมพ์ลภัส บัวครื้น. (2563). Best Practice เรื่อง ถึงตัวห่างไกล แต่ใจเราไม่ห่างกัน. การนำเสนอผลงานวิชาการทางวาจา การประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan Sharing) ครั้งที่ 7 ปีงบประมาณ 2564, กระทรวงสาธารณสุข, โรงแรมเซ็นทราบายเซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ กรุงเทพมหานคร.

พิมพ์ลภัส บัวครื้น. (2565). Best Practice เรื่อง ถึงตัวห่างไกล แต่ใจเราไม่ห่างกัน. การนำเสนอผลงานวิชาการในรูปแบบโปสเตอร์ การประชุมวิชาการยาเสพติดแห่งชาติ ครั้งที่ 22 ปี 2565, สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี, อิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี.

วิภากรณ์ ปัญญาดี. (2563). ผลการปรับรูปแบบการบําบัดยาเสพติดแบบจิตสังคมบําบัดตอการปฏิบัติตามแผนการบําบัดของผูรับการบําบัดยาเสพติดชนิดเมทแอมเฟตามีน. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 3(3), 107-119.

ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข. (2563,). ระบบข้อมูลการบำบัดรักษาและฟื้นฟู ผู้ติดยาเสพติดของประเทศ (บสต.). สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2564, จาก https://antidrugnew.moph.go.th/zCustom/

สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กรมการแพทย์. (2563, 31 ธันวาคม). แนวทางการดูแลป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มผู้ติดสุรา ยาเสพติด. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2565, จาก https://dmsic.moph.go.th/index/detail/8451

สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2555). คู่มือผู้ปฏิบัติงาน Therapist Manual Workbook การบำบัดรักษาผู้ติดยาและสารเสพติดแบบผู้ป่วยนอกตามรูปแบบการรู้คิด-พฤติกรรมบำบัด: Matrix Program. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สภาการพยาบาล. ประกาศสภาการพยาบาล เรื่อง แนวทางการพยาบาลทางไกล (Tele-nursing). (2564, 10 กุมภาพันธ์).ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 138 ตอนพิเศษ 33 ง, หน้า 49-51.

สวัสดิ์ อุ่นใจ, กิจวัฒ นาถวิล, ญาธษา พันวิไล, สุกัญญา กาญจนบัตร, และมานพ คณะโต. (2560). การศึกษาการประเมินการใช้แมทริกซ์โปรแกรมในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดดของโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 7 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(4), 661-681.

อัญญาพร สายโน และคณะ. (2564). ผลของการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดตามรูปแบบจิตสังคมบำบัดประยุกต์โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 4(2), 78-88.

Bouabida, K., Lebouché, B., & Pomey, M.-P. (2022). Telehealth and COVID-19 Pandemic: An Overview of the Telehealth Use, Advantages, Challenges, and Opportunities during COVID-19 Pandemic. Healthcare (Basel), 10(11), 2293.

King, V.L., Stoller, K.B., Kidorf, M., Kindbom, K., Hursh, S., Brady, T., Brooner, R.K. (2009). Assessing the effectiveness of an Internet-based videoconferencing platform for delivering intensified substance abuse counseling. Journal of Substance Abuse Treatment, 36(3), 331-8.

Mark, T.L, Treiman, K., Padwa, H., Henretty, K., Tzeng, J., Gilbert, M. (2022). Addiction Treatment and Telehealth: Review of Efficacy and Provider Insights During the COVID-19 Pandemic. Psychiatric Services, 73(5), 484-491.