บทบาทพระสงฆ์ในการดูแลช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตและจิตสังคมในช่วงการระบาดโควิด-19 ในชุมชนชนบทแห่งหนึ่ง จังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และบทบาทพระสงฆ์ในการดูแลช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตและจิตสังคมที่มีพระสงฆ์เข้าไปเกี่ยวเนื่องในช่วงการระบาดโควิด-19 มีผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นสมาชิกในชุมชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดขอนแก่น รวมจำนวน 13 คน เป็นชาย 8 คน หญิง 5 คน อายุ 25-76 ปี เก็บข้อมูลในช่วงเดือนพฤศจิกายน ปี 2565 โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยแนวคำถามกึ่งมีโครงสร้าง การสัมภาษณ์ใช้เวลา 40-60 นาที เสียงที่ได้จากการบันทึกถูกถอดความแบบคำต่อคำ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลแบบแก่นสาระ ผลการวิจัยพบว่า พระสงฆ์มีบทบาทการดูแลช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตและจิตสังคมในสถานการณ์การระบาดโควิด -19 ใน 2 ลักษณะ คือ (1) การเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 โดยพระสงฆ์มีบทบาทในการเป็นต้นแบบการเข้ารับการฉีดวัคซีน สร้างเสริมกำลังใจในการทำงานแก่ผู้นำชุมชนด้วยหลักพุทธธรรม และปรับเปลี่ยนทัศนคติของคนในชุมชนที่มีต่อวัคซีน และ (2) การดำเนินชีวิตประจำวันที่เกี่ยวข้องกับวัดคือศูนย์กลางการกระจายเครื่องอุปโภคบริโภค และการบิณฑบาตเป็นการให้การปฐมพยาบาลทางใจเบื้องต้น ในการวิจัยนี้ พระสงฆ์มีบทบาทสำคัญในการดูแลช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตและจิตสังคมในช่วงการระบาดโควิด-19 ในระดับชุมชน ดังนั้น ควรส่งเสริมพระสงฆ์มีส่วนร่วมกับคนในชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพจิต เช่น การถวายความรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิตและการดูแลช่วยเหลือสุขภาพจิต ที่เหมาะสมตามบริบทเชิงพื้นที่และมิติทางสังคมวัฒนธรรม รวมทั้งสอดคล้องกับหลักศาสนาต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมสุขภาพจิต. (14 มกราคม 2565). ยุคโควิดโรคซึมเศร้าใกล้ตัวกว่าที่คิด. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2566, จาก https://dmh.go.th/news-31448
เจนจิรา เกียรติสินทรัพย์, สาริณี โต๊ะทอง. (2563). อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน: บทบาทหน้าที่การดูแลสุขภาพจิตชุมชนในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 29(2), 314-323.
พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, แพรว ไตลังคะ. (6 เมษายน 2563). มุมมองด้านสุขภาพจิตและจิตสังคมของการระบาด COVID-19. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2566 จาก https://www.prd.go.th/th/content/ category/detail/id/31/iid/7012
พระวินัยธรยุทธนา ภทฺทญาโณ, พระมหาวิโรจน์ คุตฺตวีโร. (2564). ศึกษาความพึงพอใจของประชาชนต่อคณะสงฆ์ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการ ในสถานการร์โรคระบาดไวรัสโคโรน่า (Covid-19). วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 8(2), 213-223.
ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานต์. (2563). การดำเนินงานสุขภาพจิตภายใต้วิกฤตโควิด 19 ของประเทศไทย. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 28(4), 280-91.
สุจินดา พงษ์เมธา, บุญลักษณ์ สาฆะ, อัญชลี เอี่ยมศรี. (2561). การพัฒนาระบบการเยียวยาผู้ประสบภาวะวิกฤต จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 26(3), 197-206.
อัมพร เบญจพลพิทักษ์, ธิติ แสวงธรรม, ศรุตพันธ์ จักรพันธ์ ณ อยุธยา, รุจิรา เข็มเพชร, รักษ์พงศ์ เวียงเจริญ, จิรภัทร กัลป์ยาฯพจน์พร, ณัฐพงศ์ กาญจนะโกมล, และอัญญา ปลดเปลื้อง. (2564). ผลกระทบด้านสุขภาพจิตของประชาชนต่อสถานการณ์การแพร่รับาดเชื้อโคโรนาไวรัส (โควิด-19) (รายงานผลการวิจัย). สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
Barmania S., & Reiss M. J. (2021). Health promotion perspectives on the COVID-19 pandemic: The importance of religion. Global Health Promotion, 28(1), 15-22.
Braun, V., & Clarke, V. (2006). Using thematic analysis in psychology. Qualitative Research in Psychology, 3(2), 77-101.
Galang, J. R. F. (2021). Science and religion for COVID-19 vaccine promotion. Journal of Public Health, 43(3), e513-e514.