การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ CQS Teaching Model เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านวิเคราะห์สาร วินิจสาร และวิจารณ์สาร วิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ของนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ CQS Teaching Model 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ CQS Teaching Model และ 4) เพื่อประเมินรับรองคุณภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ CQS Teaching Model เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านวิเคราะห์สาร วินิจสาร และวิจารณ์สาร
วิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ของนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ดำเนินการวิจัยตามขั้นตอนของการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ที่เรียนวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 50 คน 1 กลุ่มเรียน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม ด้วยวิธีการจับสลาก โดยใช้กลุ่มเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ CQS Teaching Model แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบ และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาการอ่านวิเคราะห์สาร วินิจสาร และวิจารณ์สาร มาจากสาเหตุหลักคือการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ไม่น่าสนใจ นักศึกษาไม่ชอบการอ่านที่ต้องอาศัยทักษะการคิดวิเคราะห์ อีกทั้งไม่เข้าใจกระบวนการอ่านและการเข้าถึงบทอ่านอย่างลึกซึ้ง จึงขาดการใส่ใจไม่เห็นคุณค่าของการอ่านเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ส่วนความต้องการรูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า นักศึกษาและอาจารย์ต้องการให้มีการจัดการเรียนรู้เน้นฝึกปฏิบัติการอ่านแบบร่วมมือ การใช้คำถามเป็นฐาน การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ด้วยตนเอง 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ CQS Teaching Model พัฒนามาจากแนวความคิด 4 ทฤษฎี ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist Learning Theory) การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) การจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถาม (Question-Based Learning) และการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Directed Learning) มีองค์ประกอบหลัก คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 สนทนาความรู้เดิม (Conversation) ขั้นที่ 2 ส่งเสริมเรียนทฤษฎี (Study Theory) ขั้นที่ 3 มากมีด้วยคำถาม (Question) ขั้นที่ 4 ร่วมมือยามปฏิบัติ (Cooperate) ขั้นที่ 5 สร้างให้ถนัดความรู้ใหม่ (Construct) ขั้นที่ 6 เรียนใส่ใจด้วยตนเอง (Self-Directed) การวัดและประเมินผล และความรู้และผลที่ได้รับ 3) การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า นักศึกษากลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการอ่านวิเคราะห์สาร วินิจสาร และวิจารณ์สาร หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.55, S.D. = 0.15) และ 4) การประเมินรับรองคุณภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกณฑ์มาตรฐานของเมกุยแกนส์ (Meguigans) พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้นี้มีประสิทธิภาพถึงเกณฑ์มาตรฐาน (Meguigaans Ratio = 1.0028)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรรณิการ์ พัฒนนิติศักดิ์. (2550). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยการเรียนแบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
คณาจารย์สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจัทรเกษม. (2564). เอกสาร ประกอบการสอนวิชา GELT1001 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.
ชลธิชา หงส์เหม. (2560). การพัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้วิธีสอน แบบ SQ4R ร่วมกับแผนที่ความคิด (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชุลีรัตน์ สายัณห์รุจี. (2555). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบเทคนิคการใช้คำถามที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองชุมแสง (พัชรศาสน์ราษฎร์นุเคราะห์) (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
ณัชสุดา คํามุกชิก. (2558). การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ภาษาไทยสําหรับนักเรียนคละชั้นระดับประถมศึกษาโดยประยุกต์ใช้แนวคิดสมดุลภาษา และทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคมเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการอ่าน (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
ทัศนีย์ เศรษฐพงษ์. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการอ่านจากต้นแบบและกลวิธีผังสัมพันธ์ของความหมายเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2564). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 23. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาไทย มคอ. 1 2554. (2555, 23 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 129 ตอนพิเศษ 54 ง. หน้า 5.
ภัทราภรณ์ ช้อยหิรัญ. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมความสามารถในการอ่านตีความของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตโดยใช้ RUCES MODEL (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รุ่งทิพย์ หงษาวงษ์. (2552). ผลของการใช้ชุดกิจกรรมการรอ่านตามแนวคิดการเรียนรู้ด้วยตนเองที่มีต่อความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สกุลการ สังข์ทอง. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ MECCA เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. (2559). มคอ.2 หมวดวิชาศึกษาทั่วไป (ฉบับปรับปรุงปี 2559). กรุงเทพฯ: หลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
สุวรรณา ตั้งทีฆะรักษ์. (2555). การใช้ภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: แผนกตำราและคำสอน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
อนัตต์ชัย ชุติภาสเจริญ และสรเดช ครุฑจ้อน. (2564). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบปฏิสัมพันธ์ด้วยเทคโนโลยีภาพโฮโลแกรมและบอร์ดเกมสำหรับการศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ในรายวิชาการพัฒนาเว็บด้วยภาษา PHP สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ. วารสารคุรุสภาวิทยาจารย์, 2(2), 71-83.
อลงกรณ์ พรมที และสมศักดิ์ อรรคทิมากุล. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเรื่องสมการแม็กซ์เวลล์ คลื่นระนาบ และกําลังไฟฟ้าของคลื่น โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ของ SATADE Model. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 6(1), 177-186.