การเสริมสร้างการตระหนักรู้ในผลของการเสพสารกลุ่มแอมเฟตามีนด้วยการปรึกษากลุ่ม ตามแนวคิดเกสตัลท์ของผู้เสพสารเสพติด

Main Article Content

ดำรงศักดิ์ ยืนยาว
ดลดาว วงศ์ธีระธรณ์
ชมพูนุท ศรีจันทร์นิล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาผลของการปรึกษากลุ่มตามแนวคิดเกสตัลท์ที่มีต่อการเสริมสร้างการตระหนักรู้ในผลของการเสพสารกลุ่มแอมเฟตามีน โดยใช้การวิจัยเชิงทดลองประเภทสองตัวประกอบแบบวัดซ้ำหนึ่งตัวประกอบ
กลุ่มตัวอย่างคือผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดแบบควบคุมตัวไม่เข้มงวด ณ ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดที่ผ่านเกณฑ์ในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างและมีคะแนนการตระหนักรู้ในผลของการเสพสารกลุ่มแอมเฟตามีนจากการทำแบบสำรวจตนเองต่ำที่สุดจำนวน 16 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายในการแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลองจำนวน 8 คนและกลุ่มควบคุมจำนวน 8 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการปรึกษากลุ่มตามแนวคิดเกสตัลท์ จำนวน 12 ครั้ง ครั้งละ 90 นาที เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการบำบัดตามโปรแกรมของสถานบำบัดตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือแบบประเมินการตระหนักรู้ในผลของการเสพสารกลุ่มแอมเฟตามีน แบ่งการวัดผลออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลการทดลอง โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติพร้อมทั้งวิเคราะห์เนื้อหาจากประสบการณ์ของผู้เข้ารับการปรึกษาเพื่อใช้อภิปรายผลร่วมกับข้อมูลเชิงสถิติ
ผลการวิจัยพบว่า (1) มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาในการทดลองและ (2) ผู้รับการบำบัดในกลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามโปรแกรมการวิจัยมีคะแนนการตระหนักรู้ในผลของการเสพสารกลุ่มแอมเฟตามีนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขวัญทิพย์ ปทุมธนรักษ์. (2553). ผลการให้คำปรึกษากลุ่มแบบเกสตัลท์ต่อความก้าวร้าวของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณัฐพล ไชยศรีหา, นรีรักษ์ ประทีบวรรณโพธิ์ และรุจิการจณ์ ทิวาวัลย์. (2557). สถานการณ์การใช้สารเสพติดที่เป็นอรรถคดีในจังหวัดชลบุรี. ชลบุรี: ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 6 ชลบุรี กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์.

ดวงมณี จงรักษ์. (2556). ทฤษฎีการให้การปรึกษาและจิตบำบัดเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

ปภาวิน พื้นชมภู. (2563). ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการที่มีผลต่อการกำกับตนเองและพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กและวัยรุ่นในสถานสงเคราะห์ (ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เสาวนีย์ คงนิรันดร. (2563). พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลแหลมฉบัง. ศูนย์บำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยสารเสพติด โรงพยาบาลแหลมฉบัง. สัมภาษณ์, 30 มกราคม.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพแห่งชาติ. (2562). กรมสุขภาพจิตเผยสถิติ 1.4 ล้านคนมาจากทาสยาเสพติด. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2562). ผลการปราบปรามยาเสพติดทั่วประเทศ ปี 2562. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2564, จาก https://www.oncb.go.th/DocLib

อนงค์ วิเศษสุวรรณ์. (2554). เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 416621 การปรึกษากลุ่ม. ชลบุรี: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

Jacob, E.E., Masson, R.L., & Harvill, R.L. (2002). Group counseling strategies and skill. Pacific grove. CA: Brooks/Cole.

United Nations Office on Drugs and Crime; UNODC. (2019). Results-based annual report 2019. Retrieved April 20, 2021, from https://reliefweb.int/report/world/unodc-world-drug-report-2019?gclid=CjwKCAjwuqiiBh BtEiwATgvixCyCXtgb 8FEE4uZmniWRi2PBq6 _zxazkec9VLwoiILp41bulSPAaxoCY7gQAvD_BwE

Yontef, G. (1993). Awareness dialogue and process: Essay on Gestalt therapy. Highland, NY: Gestalt Journal Press.