โมเดลสมการโครงสร้างของการจัดการสุขภาวะพระสงฆ์ไทยวิถีใหม่ตามแนวพุทธจิตวิทยา

Main Article Content

วุฒิชัย อุทธาพงษ์
สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์

บทคัดย่อ

การศึกษาแบบผสานวิธีครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการจัดการสุขภาวะของพระสงฆ์ไทยวิถีใหม่ตามแนวพุทธจิตวิทยา 2) พัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างของการจัดการสุขภาวะของพระสงฆ์ไทยวิถีใหม่ตามแนวพุทธจิตวิทยา 3) ตรวจสอบและเสนอโมเดลสมการโครงสร้างของการจัดการสุขภาวะพระสงฆ์ไทยวิถีใหม่ตามแนวพุทธจิตวิทยา วิเคราะห์ความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์และขนาดอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมด้วยโปรแกรมลิสเรล


ผลการวิจัยพบว่า


  1. องค์ประกอบที่ส่งเสริมการจัดการสุขภาวะของพระสงฆ์ไทยวิถีใหม่ตามแนวพุทธจิตวิทยา ประกอบด้วย 1) ปัจจัยภายนอก ได้แก่ สิ่งแวดล้อม อาหารที่คฤหัสน์นำมาถวาย คู่มือปฏิบัติในการดูแลสุขภาพ 2) ปัจจัยภายในที่สำคัญ (1) วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ (2) การรู้จักประมาณตามหลักโภชเนมัตตัญญุตา
    (3) การกำกับตนเอง (4) การบริหารจัดการชีวิตด้วยปัญญา และ (5) การจัดการสุขภาวะตามหลักภาวนา 4

  2. การพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างของการจัดการสุขภาวะของพระสงฆ์ไทยวิถีใหม่ตามแนวพุทธจิตวิทยา มีตัวแปรในโมเดลที่พัฒนาขึ้นนี้เป็นความสัมพันธ์เชิงบูรณาการจากแผนภาพของโมเดลสมการโครงสร้าง ประกอบด้วยตัวแปรแฝง 5 ตัวแปร แบ่งเป็นตัวแปรภายในแฝง 2 ตัวแปร ตัวแปรภายนอกแฝง 3 ตัวแปร และตัวแปรสังเกตได้ 15 ตัวแปร

  3. โมเดลสมการโครงสร้างของการจัดการสุขภาวะของพระสงฆ์ไทยวิถีใหม่ตามแนวพุทธจิตวิทยามีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ แสดงว่าวิธีคิดตามหลักโยนิโสมนสิการ การรู้จักประมาณตามหลักโภชเนมัตตัญญุตา การกำกับตนเอง มีอิทธิพลเชิงบวกทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการจัดการสุขภาวะพระสงฆ์ไทยวิถีใหม่ตามแนวพุทธจิตวิทยา อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 และหลักจิตวิทยาการบริหารจัดการชีวิตด้วยปัญญา มีอิทธิพลเชิงบวกทางตรงต่อการจัดการสุขภาวะพระสงฆ์ไทยวิถีใหม่ตามแนวพุทธจิตวิทยา อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01

Article Details

How to Cite
อุทธาพงษ์ ว., ศรีเครือดง ส., & ภูวชนาธิพงศ์ ก. (2024). โมเดลสมการโครงสร้างของการจัดการสุขภาวะพระสงฆ์ไทยวิถีใหม่ตามแนวพุทธจิตวิทยา. วารสารพุทธจิตวิทยา, 9(2), 288–300. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/268542
บท
บทความวิจัย

References

กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์. (2556).แนวทางปฏิบัติติออการบริโภคแบบสายกลางในพระพุทธศาสนา (สารนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มติชนออนไลน์. (2559). เผย 5 โรคที่ พระสงฆ์ไทยเกินครึ่ง อาพาธ! ญาติโยมมีส่วนตักบาตรไม่ถาม (สุขภาพ) พระ. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2566, จาก https://www.matichon.co.th/local/news_212144

มาลินี กําใจบุญ. (2560). การจัดการการดูแลตนเองของพระสงฆ์อาพาธด้วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่คลินิกเบาหวานโรงพยาบาลสงฆ์. วารสารกรมการแพทย์, 42(2), 68-75.

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2560). รายงานประจําปี 2560 สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2566, จาก https://docs.google.com/forms/ d/1vch1cppqoyDjb8ZJtbzleYkDHy4Ys5MY42rVIg8FcCY/edit

ลินดา สุวรรณดี. (2563). การพัฒนากลยุทธ์ทางปัญญาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการบริหารจัดการชีวิตตามแนวเอสโอซี (SOC) ของนักศึกษาจีนมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต: กรณีมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2557). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ (พิมพ์ครั้งที่ 35). นครปฐม: วัดญาณเวศกวัน.

พระวิมาน คมฺภีรปญฺโญ และคณะ. (2565). แนวทางการส่งเสริมสุขภาวะเชิงพุทธในสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด 19 ของพระสงฆ์อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์, 7(2). 285-299.

พีระพล หมีเอี่ยม. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์ในเขตอำเภอตาคลีจังหวัดนครสวรรค์ (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สนธนา สีฟ้า. (2560). พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของพระภิกษุในจังหวัดปัตตานี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ศราวิณ ผาจันทร์ และ เบญจา มุกตพันธ์. (2558). ภาวะโภชนาการและการบริโภคอาหารของพระภิกษุสงฆ์ใน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร, 30(6), 552-561.

Baltes, P. B., Staudinger, U. M., & Lindenberger, U. (1999). Lifespan psychology: Theory and application to intellectual functioning. Annual Review of Psychology, 50, 471-507.

John, W. C. (2018). A Concise Introduction to Mixed Methods Research. USA: SAGE Publications, Inc.