ปัจจัยด้านองค์การและปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อผลิตภาพของพนักงานที่ทำงานที่บ้าน ในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19: กรณีศึกษาบริษัทผู้ผลิตและให้บริการผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

ชูเกียรติ จากใจชน
จิราภรณ์ โภชกปริภัณฑ์
สุวัลลี สัตยาอภิธาน
รุ่งฤดี กล้าหาญ
ศุภมิตร บัวเสนาะ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับของปัจจัยด้านองค์การ ปัจจัยส่วนบุคคลและผลิตภาพของพนักงานที่ทำงานที่บ้านในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านองค์การ ปัจจัยส่วนบุคคล กับผลิตภาพของพนักงานที่ทำงานที่บ้านในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19
และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของผลิตภาพของพนักงานที่ทำงานที่บ้านในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 โดยใช้ปัจจัยด้านองค์การ และปัจจัยส่วนบุคคล ร่วมกันเป็นตัวแปรพยากรณ์ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ  กลุ่มตัวอย่างจำนวน 214 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยด้านองค์การ ปัจจัยส่วนบุคคล และผลิตภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยด้านองค์การ ปัจจัยส่วนบุคคล และผลิตภาพของพนักงานที่ทำงานที่บ้านในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 อยู่ในระดับปานกลางถึงมาก  2. ปัจจัยด้านองค์การ ได้แก่ การสนับสนุนจากองค์การ การสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา สัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงาน และการสนับสนุนด้านอุปกรณ์ดิจิทัลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลิตภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=.497, .475, .617 และ .586 ตามลำดับ) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ความสามารถทางด้านดิจิทัล สุขภาพจิต ความเครียดในงาน และความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว
มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลิตภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=.599, .647, .506 และ .705


 


ตามลำดับ) และ 3. ความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว และความสามารถทางด้านดิจิทัล ร่วมกันพยากรณ์ผลิตภาพได้ โดยมีประสิทธิภาพของการพยากรณ์ 80.2%

Article Details

How to Cite
จากใจชน ช., โภชกปริภัณฑ์ จ., สัตยาอภิธาน ส., กล้าหาญ ร., & บัวเสนาะ ศ. (2023). ปัจจัยด้านองค์การและปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อผลิตภาพของพนักงานที่ทำงานที่บ้าน ในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19: กรณีศึกษาบริษัทผู้ผลิตและให้บริการผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ . วารสารพุทธจิตวิทยา, 8(3), 581–589. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/268007
บท
บทความวิจัย

References

รัฐบาลไทย. (2563). สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 17 มีนาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2563, จาก https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/27410

ศูนย์ปฎิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค. (2563). กรมควบคุมโรคแนะประชาชนเพิ่มระยะห่างทางสังคม“Social Distancing” กับ 8 วิธี ป้องกันโรคโควิด-19. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2563, จากhttps://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=12278&deptcode=brc

Adekunle, M. (2018). Work Life Balance Practices and Employees Productivity in The Nigerian University System. Crawford Journal of Business and Social Sciences, (CJBASS), Xiii, 49-59.

Aboelmaged, M.G. and El Subbaugh, S.M. (2012). Factors Influencing Perceived Productivity ofEgyptian Teleworkers : An Empirical Study. Measuring Business Excellence, 16,3-22.

Andrei Agache, Timea Cisma, Muddassar Sarfraz, Andra Diaconescu, Larisa Ivașcu. (2021).

The impact of home office on work factors that affect productivity, stress levels and work /life balance among employees. Review of Management and Economic Engineering, 20(4),259 – 271.

Dania M. Kurdy, Husam-Aldin Nizar Al-Malkawi, and Shahid Rizwan. (2023) The impact of remote working on employee productivity during Covid-19 in the UAE the moderating role of job level. Journal of Business and Socioeconomic Department, 3(4), 339-352.

Hill, E. J., Ferris, M., & Märtinson, V. (2003). Does it matter where you work? A comparison of how three work venues (traditional office, virtual office, and home office) influence aspects of work and Psychological/family life. Journal of Vocational Behavior, 63 (2),220–241.

Nima Ravi, and M. R. Anulakshmi. (2021). Work from Home and Employee Productivity during COVID-19. Asian Basic and Applied Research Joural, 3(1), 150-157.

Nopriadi Saputra, Hesty Aisyah, Dyah Palupiningtyas, Farid Ardiansyah, Hayat, Okta Karneli, Bahri, Khanifatul Khusna. (2020). The Influential Factors of Work Productivity During Covid-19:The Effect of Digital Skill, Collaboration, and Organizational Support. Jurnal Sosioteknologi, 21(1),70-83.

Sekar Wulan Prasetyaningtyas, Clivensen Heryanto, Nadia Fasha Nurfauzi, Sugiharto Bangsawan Tanjung. (2021). The Effect of Work from Home on Employee Productivity in The Banking Industry. Journal of Applied Management (JAM),19(3), 4970-4987.

Shareena, P., & Shahid, M. (2020). Work from home during COVID-19: Employees perception and experiences. Global. Journal for Research Analysis, 9(5), 1e3.

Techsauce Team. (2563). NIA ชี้เทรนด์ใหม่ Work from Home มีแนวโน้มขยายตัวพร้อมเร่งมาตรการกระตุ้นStartup และ SMEs. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2563, จาก https://techsauce.co/pr-news/nia-work from-home-covid-19

Tri Wulida Afriant, I. Gusti Lanang Suta Artatauya, John Burgess. (2022). Working from home effectiveness during Covid-19 : Evidence from university staff in Indonesia. Asia Pacific Management Review, 27, 50-57.