วิถีสู่ความผาสุกทางใจผ่านการผสานลมหายใจ กาย และจิตของผู้ฝึกโยคะ

Main Article Content

พชร โตอ่วม
ธีรวรรณ ธีระพงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษากระบวนการพัฒนาความผาสุกทางใจในกลุ่มผู้ฝึกโยคะ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยแนวคำถามกึ่งโครงสร้าง ซึ่งมีครูโยคะเป็นผู้นำเข้าสู่ผู้ให้ข้อมูลหลัก และเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่ร่วมกับการใช้แบบวัดความผาสุกทางใจเพื่อคัดเลือกผู้ฝึกโยคะที่ประสบกับความผาสุกทางใจจำนวน 6 คน ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการพัฒนาความผาสุกทางใจของผู้ฝึกโยคะ ประกอบด้วย 1. จากกายสู่ใจ ผู้ฝึกจะเริ่มรับรู้และตระหนักถึงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายผ่านการเคลื่อนไหวและหายใจก่อนที่จะสัมผัสถึงความเบากายสบายใจ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อเนื่องให้เกิด 2. สุขสงบสร้างความเพียร และ 3. เจียรนัยโลกภายใน โดยชั่วโมงการฝึกโยคะที่เพิ่มมากขึ้น ช่วยให้ผู้ฝึกโยคะได้ใช้เวลาทบทวนตนเองจนเริ่มยอมรับถึงกายและใจ รับรู้ถึงความสามารถในการจัดการสถานการณ์ต่าง ๆ รวมถึงมองหาประสบการณ์ใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง จากนั้นประสบการณ์ส่วนบุคคลที่เกิดขึ้นจะช่วยสร้างความสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้างให้แน่นแฟ้นผ่าน 4. (ก) เข้าใจตนจนเข้าถึงใจผู้อื่น อีกทั้งยังช่วยเปิดใจผู้ฝึกที่สวมบทบาทครูสอนโยคะให้ได้เรียนรู้บทเรียนใหม่ ๆ จาก 4. (ข) นักเรียน คุรุคนสำคัญ สุดท้ายการหมั่นฝึกโยคะด้วยใจที่เชื่อมั่นและศรัทธาอย่างต่อเนื่องก่อให้เกิด 5. ยิ่งฝึก ยิ่งตระหนักรู้ ยิ่งเปิดโลกแห่งปัญญา ซึ่งสะท้อนถึงความเข้าใจอย่างถ่องแท้ที่ผู้ฝึกโยคะมีต่อตนเองและโลกภายนอก และที่สำคัญโยคะยังได้กลายมาเป็นวิถีแห่งชีวิตที่เปี่ยมด้วยความหมาย และมอบอิสรภาพในการบัญญัติบรรทัดฐานชีวิตของตนเอง

Article Details

How to Cite
โตอ่วม พ. ., & ธีระพงษ์ ธ. . (2023). วิถีสู่ความผาสุกทางใจผ่านการผสานลมหายใจ กาย และจิตของผู้ฝึกโยคะ. วารสารพุทธจิตวิทยา, 8(3), 541–552. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/267766
บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2565). บทวิเคราะห์ธุรกิจ ประจำเดือนสิงหาคม 2565 ธุรกิจบริการด้านสุขภาพและความงาม. สืบค้นจาก https://www.dbd.go.th/download/document_file/Statisic/2565/ T26/ T26_202208.pdf

เกศสุดา ชาตยานนท์. (2559). โยคะแห่งสติ. กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์.

คัคนางค์ มณีศรี. (2550). แบบวัดความผาสุกทางจิต. กรุงเทพฯ: คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิตติมา สุนทรรส และ พระมหามิตร ฐิตปญฺโญ. (2563). การพัฒนาตนเพื่อการบรรลุเป้าหมายสูงสุดของชีวิตตามหลักพุทธธรรม. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 7(4), 68-83.

พระครูสุตาภรณ์พิสุทธิ์, พระครูโกศลธรรมานุสิฐ, พระครูพิพัฒณวุฒิกร และ เอกมงคล เพ็ชรวงษ์. (2562).

การพัฒนาตนตามหลักพระพุทธศาสนา. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 12(4), 1557-1570.

พระครูศรีธรรมวรภรณ์. (2562). การประยุกต์ไตรสิกขาเพื่อการพัฒนาทุนมนุษย์ในศตวรรษที่ 21. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(1), 13-24.

เมธาวี แสงสมส่วน, ฑิฆัมพร หอสิริ, และ สุชีรา ภัทรายุตวรรตน์ (2561). ผลของการจัดกิจกรรมโยคะต่อสุขภาวะทางจิตและคุณภาพชีวิตในวัยรุ่นตอนต้น. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 47 (น. 754-764). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วิโรจน์ ตระการวิจิตร. (2562). ไปให้สุดโยคะ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). ราชกิจจานุเบกษา. สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2566, จากhttp://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/258/T_0001.PDF

สิริพิมล อัญชลิสังกาศ. (2551). โยคะเพื่อสุขภาพขั้นพื้นฐาน. นนทบุรี: กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข.

สุวรรณี ไวท์, สิริวัฒน์ ศรีเครือดง, และ สุวัฒสัน รักขันโท. (2564, มกราคม–มิถุนายน). พุทธจิตวิทยากับการพัฒนาตนให้มีความสุข. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 7(1), 425-440.

Arambula, P., Peper, E., Kawakami, M., & Gibney, K. (2001). The physiological correlates of Kundalini yoga meditation: A study of a yoga master. Applied Psychophysiology and Biofeedback, 26(2), 147– 153.

Balasubramaniam, M., Telles, S., & Doraiswamy, P. M. (2013). Yoga on Our Minds: A Systematic Review of Yoga for Neuropsychiatric Disorders. Frontiers in Psychiatry, 3(117). doi:10.3389/fpsyt.2012.00117

Brisbon, N. M., & Lowery, G. A. (2011). Mindfulness and Levels of Stress: A Comparison of Beginner and Advanced Hatha Yoga Practitioners. Journal of Religion and Health, 50(4), 931-941.

Capon, H., O'Shea, M., & McIver, S. (2019). Yoga and mental health: A synthesis of qualitative findings. Complementary Therapies in Clinical Practice, 37, 122-132.

Daigle, S., Talbot, F., & French, D. J. (2018). Mindfulness-based stress reduction training yields improvements in well-being and rates of perceived nursing errors among hospital nurses. Journal of advanced nursing, 74(10), 2427-2430.

Deroche, M. H. (2021). Mindful wisdom: The path integrating memory, judgment, and attention. Asian Philosophy, 31(1), 19-32.

Ivtzan, I., & Papantoniou, A. (2014). Yoga meets positive psychology: Examining the integration of hedonic (gratitude) and eudaimonic (meaning) wellbeing in relation to the extent of yoga practice. Journal of Bodywork & Movement Therapies, 18(2), 183-189.

Iyenger, B. K. S. (2006). Light on yoga (1st ed.). New Delhi: Harpercollins Publishers.

Kahya, H., & Raspin, C. (2016). Yoga Therapy For The Mind 8-Week Course: Participants′ Experiences. Explore: The Journal of Science and Healing, 13. doi:10.1016/j.explore.2016.12.006

Kidd, M., & Eatough, V. (2017). Yoga, well-being, and transcendence: An interpretative phenomenological analysis. Humanistic Psychologist, 45(3), 258–280.

Kubzansky, L. D., Boehm, J. K., & Segerstrom, S. C. (2015). Positive Psychological Functioning and the Biology of Health Positive Psychology and Biology. Social and Personality Psychology Compass, 9(12), 645-660.

Mira, S., & Mehta, S. (2010). Yoga : the Iyengar way (1st ed.). New York: Alfred A. Knopf.

Rhodes, A. M. (2018). Claiming peaceful embodiment through yoga in the aftermath of trauma. Complementary Therapies in Clinical Practice, 21(4), 247-256.

Ryff, C., & Keyes, C. (1995). The Structure of Psychological Well-Being Revisited. Journal of personality and social psychology, 69, 719-727.

Uebelacker, L. A., Kraines, M., Broughton, M. K., Tremont, G., Gillette, L. T., Epstein-Lubow, G., Miller, I. W. (2017). Perceptions of hatha yoga amongst persistently depressed individuals enrolled in a trial of yoga for depression. Complementary therapies in medicine, 34, 149-155.

United Nations. (2022). International Day of Yoga 21 June. Retrived from https://www.un.org/en/ observances/yoga-day

Van Doren, N. (2015). The Role of Yoga's Rituals in Psychological Well-Being. Journal of Interpersonal Relations, Intergroup Relations, and Identity, 8, 80.

West, J., Liang, B., & Spinazzola, J. (2017). Trauma sensitive yoga as a complementary treatment for posttraumatic stress disorder: A qualitative descriptive analysis. International Journal of Stress Management, 24(2), 173–195.