จินตนาการต่อความตายและการออกแบบชีวิตของผู้สูงวัยที่พำนักในเมืองใหญ่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพ นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาจินตนาการต่อความตาย 2) การออกแบบชีวิตของผู้สูงวัย กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงวัยในจังหวัดกรุงเทพมหานคร คัดเลือกแบบเจาะจง และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบเนื้อหาในคำสัมภาษณ์และสรุปเป็น ผลการวิจัยพบว่าผู้สูงวัย มีจินตนาการต่อความตาย 4 ด้าน คือ 1) ความเป็นรูปธรรมในมิติชีวภาพเมื่อร่างกายหยุดทำงาน 2) การรับรู้เชิงนามธรรม สัมพันธ์กับความเชื่อทางศาสนาของตนเอง 3) ความคาดหวังเมื่อใกล้ตาย คือ ตายตามธรรมชาติไม่ยื้อชีวิต รับรู้เกี่ยวกับการรักษาโรค มีการเตรียมตัวให้พร้อมตายดี และเลือกสถานที่ตายที่บ้านมากกว่าโรงพยาบาล 4) ความเชื่อหลังการตาย เชื่อว่าการจุติไปยังภพภูมิอื่นขึ้นอยู่กับบาปหรือบุญที่กระทำเมื่อมีชีวิต สร้างกรรมดีด้วยการบริจาคร่างกาย โลหิต ทรัพย์ สิ่งของ ทำบุญ และไม่เบียดเบียนชีวิตผู้อื่น
การออกแบบชีวิตของผู้สูงวัยมี 3 ด้าน คือ 1) ด้านสังคมและวัฒนธรรม ประกอบด้วย มีกลุ่มเพื่อนพูดคุยหรือไปมาหาสู่กันได้ เชื่อมั่นในความสามารถตนเอง มีความเป็นอิสระและพึ่งตนเอง กลับบ้านเกิดเมื่อถึงวัยต้องพึ่งพาผู้อื่น 2) ด้านเศรษฐกิจ มีการจัดการทรัพย์สิน มีเงินออมพอเพียงในการดำรงชีพ 3) ด้านสุขภาพและการเรียนรู้ ให้ความสำคัญการดูแลสุขภาพร่างกาย อาหาร ออกกำลังกายและฝึกสมอง มีการเรียนรู้ตามอัธยาศัยจากประสบการณ์ตรงในชีวิต การอ่าน ฟัง การพบเพื่อนและงานอดิเรก ติดตามข่าวสารจากสื่อโทรทัศน์และโทรศัพท์มือถือ ผลการวิจัยสามารถประยุกต์ใช้ในการเตรียมสารสนเทศก่อนวัยสูงอายุ การศึกษาต่อเนื่องสำหรับผู้สูงอายุ และการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2563). มาตรการขับเคลื่อนสังคมสูงวัยคนไทยอายุยืน 4 มิติ เศรษฐกิจ สภาพแวดล้อม สุขภาพและสังคม. กรุงเทพฯ: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน.
กรมสุขภาพจิต. (2558). คู่มือความสุข 5 มิติสำหรับผู้สูงอายุ.ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต.
พระครูอรรถจริยานุวัตร. (2564). การเตรียมตัวตายตามแนวพระพุทธศาสนา. วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์, 8(1), 55-65.
พระไตรปิฎกวิจารณ์. (2509). พระพุทธศาสนากับการเกิดใหม่ ความสำคัญของพระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระไพศาล วิสาโล และคณะ. (2552). เผชิญความตายอย่างสงบ 2. พิมพ์ครั้งที่ 1 . กรุงเทพฯ: เครือข่ายพุทธิกา.
พระมหาคมคาย สิริปญฺโญ (สิงห์ทอง), พระสุชาติ เชื้อรุ่ง. (2565). ความตายในมุมมอง 4 ศาสนา. วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 27 (2), 284-302.
พระมหาจักรพันธ์ จกฺกวโร. (2564). ไตรสิกขากับการดำเนินชีวิตของชาวพุทธ. ตาก: วิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดตาก.
นงลักษณ์ พะไกยะ. (2561). รายงานความต้องการกำลังคนด้านสุขภาพในการดูแลผู้สูงอายุ. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
มารยาท สุจริตวรกุล; สิริลักษณ์ โสมานุสรณ์. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเตรียมตัวเพื่อการตายของผู้สูงอายุไทยพุทธ. วารสารเกื้อการุณย์ (25) 1. 154-169.
ยุพา ทองสุข. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
สายสิริ อิสรชาญวาณิชย์. (2560). การวางแผนการดูแลในระยะท้ายของชีวิตล่วงหน้า.โครงการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติว่าด้วยการสร้างเสริมสุขภาวะในระยะท้ายของชีวิต พ.ศ.2557-2559. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. กระทรวงสาธารณสุข นนทบุรี.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย 2560. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2562 จาก http://www.nso.go.th/sites/2014 /Pages/News/2561/N10-17-2561.aspx
Elizabeth, A. P., Lynda, A. A. (2020). Older Adults' Views of Successful Aging. Retrieved March 7, 2020, from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/14286297
Forum Qualitative. (2010). The Theme-centered Interview. Journal of Forum Qualitative Socialization, 1(2), 23.
Health Foundation. (2019). A Guide for Designing and Conducting In-Depth Interviews. Retrieved May 6, 2020, from https://nyhealthfoundation.org/wp-content/uploads/2019/02/me _tool_series_indepth_interviews-1.pdf
Heather Fuller. (2018). Multiple Factors Influencing Successful Aging. Retrieved March 7, 2020, from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6841199/
National Institute on Aging. (2020). How the Aging Brain Affects Thinking. Retrieved September 12, 2022, from https://www.nia.nih.gov/health/how-aging-brain-affects-thinking
Tana Nilchaigowit, Warisara Krikhaiwan. (2003). The situation of death and dying paradigm shift. Health Systems Research Institute (HSRI). Retrieved March 7, 2020, from http://kb.hsri. or.th/dspace/handle/11228/1494.
TDRI. (2562). เดินหน้าสู่สังคมผู้สูงอายุ “ประเทศไทย” Thailand Development Research Institute. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2562, จาก https://www.finnomena.com/mr- messenger/aged-society/.
WHO. (2010). Global Network for Age-friendly Cities and Communities. Retrieved 6 December, 2021, from https://www.who.int/ ageing/projects/age_friendly cities_ network/en/