ผลการใช้โปรแกรมการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนระดับประถมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

รุ่งอรุณ ป้องกัน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ลักษณะการทดลองกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest-Posttest Design) มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนระดับประถมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประชากร คือนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาคือ นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนอนุบาลบึงกาฬวิศิษฐ์อำนวยศิลป์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ปีการศึกษา 2565 จำนวน 30 คน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวัดความเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.95  และโปรแกรมการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนระดับประถมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งมีความเหมาะสมของโปรแกรม อยู่ในระดับมาก


ผลการวิจัย พบว่า ความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนระดับประถมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลังการใช้โปรแกรมที่สร้างสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และติดตามผลการทดลอง 1 เดือนกับหลังการทดลองไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2562). สรุปผลการสำรวจข้อมูลสถานภาพการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). แผนปฏิบัติการดิจิทัลเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2563-2565. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

ชาญ สวัสดิ์สาลี. (2550). คู่มือนักฝึกอบรมมืออาชีพ: การจัดดำเนินการฝึกอบรมอย่างมีประสิทธิผล. กรุงเทพฯ: สวัสดิการสำนักงาน ก.พ.

ธีรวัฒน์ รูปเหลี่ยม และสมบัติ ท้ายเรือคำ. (2561). การพัฒนาโปรแกรมเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางดิจิทัลของนักเรียนระดับประถมศึกษา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 37(5), 43-53.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2560). ทักษะ 7C ของครู 4.0. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาวิณี โสธายะเพ็ชร. (2560). เคล็ด (ไม่) ลับกับการฝึกอบรม. กรุงเทพฯ: นัชชาวัตน์.

ปัทมาภรณ์ สุขสมโสด และคณะ. (2564). ผลกระทบของการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ต่อการเปลี่ยนแปลงค่านิยมวัยรุ่นในพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา, 13(1), 119-137.

ลัดสะหมี พอนไซ. (2565). การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางดิจิทัลของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562, จาก https://data.bopp-obec.info/emis/student.php?Area _CODE= 9201&Edu_year=2562

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). รายงานผลการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของครัวเรือน พ.ศ. 2562 ทั่วราชอาณาจักร. กรุงเทพฯ: กองนโยบายและวิชาการสถิติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

อัญชิสา สุรีย์แสง. (2553). การใช้กิจกรรมพัฒนาความมีวินัยในตนเองของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนอรุณประดิษฐ์ จังหวัดเพชรบุรี (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Roger, B. and Caple, J. (1995). The Theory and Practice of Training. (3nd ed), London: Kogen.

Ribble, M. (2015). Digital Citizenship in Schools: Nine Elements All Students Should Know (3rd ed.). Washington DC: International Society for Technology in Education.