โรคจิตทางพระพุทธศาสนาและวิธีรักษาตามแนวพระพุทธศาสนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เพื่อนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับโรคจิตทางพระพุทธศาสนาและวิธีรักษาตามแนวพระพุทธศาสนา โดยการสังเคราะห์จากที่ได้เรียนหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต (สาขาพุทธจิตวิทยา)
และหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาจิตวิทยาชีวิตและความตาย) ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยรายวิชาที่เรียนเป็นบูรณาการวิชาจิตวิทยาทางตะวันตกกับพระพุทธศาสนารวมเข้าด้วยกัน
จุดต่างที่สำคัญระหว่างพระพุทธศาสนากับจิตวิทยา พระพุทธศาสนานั้นมองปัญหาจิตใจของคน โดยมิได้จำกัดอยู่ในวงของการป่วยทางจิต คือไม่ได้เน้นเรื่องคนไข้โรคจิต แต่ปัญหาจิตใจของคนในพระพุทธศาสนานั้น หมายถึงปัญหาของมนุษย์ทั่วไปทุกคน ที่ยังมีความทุกข์หรือยังมีความบกพร่อง ยังเป็นคนที่ไม่สมบูรณ์ หรือกล่าวได้ว่า มนุษย์ทุกคนที่ยังไม่ไร้ทุกข์ ปัญหาของมนุษย์ทุกคนที่ยังไม่ไร้ทุกข์นี้เป็นจุดสนใจของพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น มองในแง่นี้แล้ว พระพุทธศาสนาจึงสนใจปัญหาของคนธรรมดาสามัญที่อยู่ในสังคมทั่วไป แล้วขยายความสนใจดังกล่าวออกไปครอบคลุมถึงเรื่องราวหรือปัญหาทั้งหมดที่มีผลต่อชีวิตของบุคคลและสังคม สำหรับจิตวิทยานั้น ให้ความสำคัญกับวิธีการวิทยาศาสตร์เน้นไปทางด้านวัตถุ คือการที่จะต้องตรวจสอบทดลองให้ออกมาเป็นรูปธรรม ให้แสดงผลออกมาเป็นสิ่งที่มองเห็นได้ ตัวอย่างเช่น พฤติกรรมภายนอก การแสดงออกทางด้านที่ปรากฏในสังคม เป็นต้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กาญจนา คาสุวรรณ และนิตยา เสาร์มณี. (2521). จิตวิทยาเบื้องต้น. พระนคร: การเวก.
จำลอง ดิษยวณิช. (2551). ความเข้าใจแนวพุทธเกี่ยวกับความผิดปกติทางจิตใจ. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 53(3), 243-255.
นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์(2552). จิตวิทยาแนวพุทธ. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2566, จาก http://medinfo2.psu.ac.th
บุญมี ปาละวงศ์ (2537). ธรรมชาติของมนุษย์ทางด้านคุณธรรมจริยธรรม. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2566, จาก https://www.baanjomyut.com/library_3/extension-2/ethics/04.html
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2539). จากจิตวิทยาสู่จิตภาวนา. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.
พระราชพรหมยาน (วีระ ถาวโรมหาเถร). (2541). คู่มือปฏิบัติคู่วัดท่าซุง เล่ม 1. ม.ป.ท.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2550). อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาอรรถกถา. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วศิน อินทสระ. (2541). แนวทางการพัฒนาจริยธรรมไทย. กรุงเทพฯ: ไทยพัฒนาพานิช.
วิรัตน์ กางทอง. (2561). ทฤษฎีความรู้ทางจิตวิทยาศาสนาThe Theory of Knowledge in Psychology of Religion. วารสารวิจัยธรรมสำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม, 1(1), 21-35.
TupLuang. (2008), รอยธรรม รวมพระธรรมเทศนา 21 กัณฑ์. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2566, จาก https://palungjit.org/