ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคของคนวัยทำงานในจังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

กวีศุภณิฐ วิกรมวยากรม์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความสัมพันธ์ระหว่างการมองโลกในแง่ดี ลักษณะมุ่งอนาคตการสนับสนุนทางสังคม กับการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค ของคนวัยทำงานในจังหวัดปทุมธานี 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคของคนวัยทำงานในจังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นคนวัยทำงาน อายุ 25 - 60 ปี ในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 420 คน ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามซึ่งประกอบไปด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล แบบสอบถามการมองโลกในแง่ดี มีค่าความเที่ยง .917 แบบสอบถามลักษณะมุ่งอนาคต มีค่าความเที่ยง .955 แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม มีค่าความเที่ยง .922
และแบบสอบถามการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค มีค่าความเที่ยง .890 สถิติที่ใช้คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการศึกษาพบว่า คนวัยทำงานในจังหวัดปทุมธานีมีการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค การมองโลกในแง่ดี ลักษณะมุ่งอนาคต อยู่ในระดับสูง และมีการสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับปานกลาง และ 1) การมองโลกในแง่ดี ลักษณะมุ่งอนาคต และการสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค ของคนวัยทำงานในจังหวัดปทุมธานี 2) การมองโลกในแง่ดี ลักษณะมุ่งอนาคต และการสนับสนุนทางสังคม สามารถร่วมกันพยากรณ์การเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค ของคนวัยทำงานในจังหวัดปทุมธานีได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2564). ดุสิตโพล ชี้ คนไทยเครียด 'ตกงาน' ช่วงโควิด-19 ระบาด แนะรัฐเร่งแก้. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2564, จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/928459

นฤมล เรืองรุ่งขจรเดช. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค การสนับสนุนทางสังคม และความเครียดในการปฏิบัติงาน: กรณีศึกษาบริษัทพัฒนาโปรแกรมระบบงานแห่งหนึ่ง (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เนาวรัตน์ อิ่มใจ. (2552). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค การสนับสนุนทางสังคมและความเหนื่อยหน่ายในการทำงาน: กรณีศึกษาบุคลากรสังกัดบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งหนึ่ง (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปรียภัสร์ อุปชิต. (2557). การศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความสามารถในการเผชิญปัญหาและฝ่าฟันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.

วรัฐา นพพรเจริญกุล. (2561). ผลของโปรแกรมพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตที่มีต่อความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรุณกันยา คุณากรวิรุฬห์. (2556). การมองโลกในแง่ดีและการเห็นคุณค่าในตนเองที่พยากรณ์ความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคของบุคลากรมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ศิวิมล คำนวล. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างการมองโลกในแง่ดี ความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค และความสุข: กรณีศึกษาพนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศูนย์พัฒนาวิชาการอาชีวอนามัยและสิ่งเเวดล้อม จังหวัดสมุทรปราการ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). แนวปฏิบัติ (Standard Operation Procedures: SOPs) ที่ปลอดโรคปลอดภัยสำหรับผู้ประกอบอาชีพ เพื่อการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ระยะผ่อนปรน. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

สำนักงานแรงงานจังหวัดปทุมธานี. (2564). สถานการณ์แรงงานจังหวัดปทุมธานี ไตรมาส 2 ปี 2564 (เมษายน– มิถุนายน). สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2564, จาก https://pathumthani.mol.go.th/wp-content/uploads/sites/42/2021/07/รายงานสถานการณ์ไตรมาส-2-64-1.pdf

อภิษฎา จันต๊ะวงค์. (2556). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขตอำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.

Fotiadou, M., et al. (2008). Optimism and Psychological Well-being Among Parents of Children with Cancer: An Exploratory Study. Psycho-Oncology, 17, 401-409.

Stoltz, P. G. (1997). Adversity Quotient: Turning Obstacles into Opportunities. New York: John Wiley & Sons Inc.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.