สมรรถนะของพระธรรมทูตเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา

Main Article Content

พระมหาเรวัตร์ ผมหอม
ทักษ์ อุดมรัตน์
วรินทร บุญยิ่ง
ชนัดดา ภูหงส์ทอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะของพระธรรมทูตในการเผยแผ่พระพุทธ ศาสนาในพื้นที่ชายแดน ไทย – เมียนมา 2) เพื่อประเมินสมรรถนะของพระธรรมทูตในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธีเก็บข้อมูลจากพระธรรมทูต จำนวน 15 รูป ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง และใช้แบบสัมภาษณ์ประกอบกับการสนทนากลุ่มเป็นเครื่องมือ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า การศึกษาสมรรถนะของพระธรรมทูตในพื้นที่ชายแดน ไทย - พม่า มีอุปสรรคในเรื่องของภาษาการสื่อสาร และวัฒนธรรม เนื่องจากบริบทของคนในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นชาวชนเผ่าชาติพันธ์ไม่สามารถสื่อภาษาไทยได้ จึงเข้าไม่ถึงธรรมหลักธรรมคำสอนของพุทธศาสนาการเผยแผ่จึงเป็นสิ่งที่ท้าทายและยาก พระธรรมทูตจึงต้องมีบทบาทและหน้าที่สำคัญของอย่างยิ่งและต้องมีการปรับตัวทัศนคติความคิดและวิธีการต่าง ๆ พยายามสร้างความสัมพันธ์กับทุกศาสนา ทุกสถานที่หรือทุกสังคมที่เข้าไป จึงเป็นคุณสมบัติสำคัญของพระธรรมทูตที่ต้องตั้งมั่นในความดีเข้าใจปัญหาและความต้องการของถิ่นฐานที่จะไป มีวิธีการสื่อสารอย่างได้ผลและมุ่งมั่นต่ออุดมการณ์ของพระพุทธศาสนา จึงจะสามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การประเมินสมรรถนะของพระธรรมทูตในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในพื้นที่ชายแดน ไทย – เมียนมา พบว่า การเผยแผ่จะขับเคลื่อนไปได้ด้วยดีต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ บุคลากรในการเผยแผ่ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาจำเป็นต้องมีกองงานพระธรรมทูตส่วนกลาง
และสมรรถนะที่เป็นคุณลักษณะในการเผยแผ่ได้แก่ 1. สมรรถนะของพระธรรมทูต ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ 2. สมรรถนะในการพัฒนาและการปฏิบัติศาสนกิจของพระสงฆ์ไทยในพื้นที่ชายแดนโดยปฏิบัติตามหลักการสำคัญ และ 3. สมรรถนะที่ประกอบด้วยคุณธรรม 4 ประการ

Article Details

How to Cite
ผมหอม พ., อุดมรัตน์ ท., บุญยิ่ง ว., & ภูหงส์ทอง ช. (2023). สมรรถนะของพระธรรมทูตเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา. วารสารพุทธจิตวิทยา, 8(3), 452–461. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/266833
บท
บทความวิจัย

References

กองพุทธศาสนศึกษา, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2558). ระเบียบกองงานพระธรรมทูต. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: เพชรเกษมพริ้นติ้งกรุ๊ป.

พระณัฐพงษ์ สิริวโส (ต้นศิริ).(2555). บทบาทการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมรินทร์ โภคากรณ์. (2555). การวิเคราะห์คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของพระธรรมทูตในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา: กรณีศึกษาพระราชรัตนรังษี (วีรยุทธ์ วีรยุทฺโธ) (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระมหาบุญไทย ปุญฺญมโน (ด้วงวงศ์). (2553). การเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศของคณะสงฆ์ไทยในปัจจุบัน (ดุษฎีนิพนธ์ศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระมหามนตรี ศรีบุญฮุง. (2550). แนวทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตสายต่างประเทศในทรรศวรรษหน้า (พ.ศ. 2551 - 2560) (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระมหาสุริยา วรเมธี และคณะ. (2556). ศึกษาแนวคิดและหลักการในการเผยแผ่ พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตไทยในสหรัฐอเมริกา (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสนอง ปจฺโจปการี (จำนิล). (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการบริหารงานของเทศบาลตำบลท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม. วารสารปัญญาปณิธาน, 4(1), 65-78.

พระมหาสมชาย กลิ่นจันทร์. (2559). การเผยแผ่พระพุทธศาสนา : การพัฒนารูปแบบและวิธีการเชิงรุกของคณะสงฆ์ไทย จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พระมหาเสรี พุทฺธรกฺขิโต. (2558). บทบาทพระสงฆ์ต่อสังคมไทยในอดีตถึงปัจจุบัน การจัดการเชิงพุทธ. สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา นครราชสีมา. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2561, จาก https://sites.google.com/site/smcucorat/Home/khxmul-web/pi-4-2552/pi-4-/kar-suksasngkheraah/bthkhwa/bth-thi-7

พระมหาสิงขร ปริยตฺติเมธี. (2559). พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช. วารสารพุทธมัคค์ ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม, 1(1), 39-41.

สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดตาก. (2561). การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตในพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมาร์. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2561, จาก http://tak.onab.go.th/index.php?option=com _content&view=article&id=286&Itemid=123