การพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ในรายวิชาเคมี โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบจำลองเป็นฐานร่วมกับแนวคิดสะเต็มศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ฟัรฮา ยูโซ๊ะ
ฮามีด๊ะ มูสอ
สะหรี เมธาธนธรกุล
อดิศร ศิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ในรายวิชาเคมี โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบจำลองเป็นฐานร่วมกับแนวคิดสะเต็มศึกษา 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พอลิเมอร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบจำลองเป็นฐานร่วมกับแนวคิดสะเต็มศึกษา 3) ศึกษาคะแนนพัฒนาการของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบจำลองเป็นฐานร่วมกับแนวคิดสะเต็มศึกษา และ 4) ศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบจำลองเป็นฐานร่วมกับแนวคิดสะเต็มศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 46 คน โรงเรียนนราสิกขาลัย จังหวัดนราธิวาส ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โดยการสุ่มแบบยกกลุ่ม ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานร่วมกับแนวคิดสะเต็มศึกษา แบบประเมินทักษะการคิดสร้างสรรค์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การปรับปรุงสมบัติของพอลิเมอร์และการแก้ปัญหาขยะจากพอลิเมอร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบทีชนิดกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัย พบว่า (1) นักเรียนมีทักษะการคิดสร้างสรรค์อยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 3.73) คิดเป็นร้อยละ 74.53  (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์เฉลี่ยร้อยละ 82.58 ซึ่งมีพัฒนาการอยู่ในระดับสูงมาก และ (4) ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานร่วมกับแนวคิดสะเต็มศึกษาอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 4.50)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลฉัตร กล่อมอิ่ม. (2559). การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษา สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(4), 334-348.

เกรียงศักดิ์ วิเชียรสร้าง. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี ความสามารถในการแก้ปัญหา และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

จุฑามาศ กันทะวัง. (2563). การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานวิชาชีววิทยา เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทวีป แซ่ฉิ่ม. (2556). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎี Constructionism เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน โปรแกรม App Inventor สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวรพิษณุโลก.

ธนภรณ์ จุลพูล และคณะ. (2563). การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาด้วยชุดอุปกรณ์การชุบโลหะทองแดงด้วยไฟฟ้าที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 13(1), 205-219.

นัสรินทร์ บือซา. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM education) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2564). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2558). STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. วารสารนักบริหาร, 33(2), 49-56.

วิไลลักษณ์ ผ่านเมือง. (2560). ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้เรื่อง พอลิเมอร์ ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบสะเต็มศึกษา ในรายวิชาเคมี สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วีรศักดิ์ จันทร์สุข. (2564). ความคิดสร้างสรรค์. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2565, จาก http://www.kru rock.com/T33101/ TechnoC/TechnoC01_04.php

ศศิเทพ ปิติพรเทพิน. (2558). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับสังคมแห่งศตวรรษที่ 21. สมุทรปราการ: เนว่าเอ็ดดูเคชัน.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). ผลการประเมิน PISA 2018: นักเรียนไทยวัย 15 ปี รู้และทำอะไรได้บ้าง. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2565, จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/issue-2019-48/

สิทธิโชค เอี่ยมบุญ และคณะ. (2563). การศึกษาความคิดสร้างสรรค์ และความสามารถในการสร้างแบบจําลองทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจําลองเป็นฐาน. วารสาร“ศึกษาศาสตร์ มมร”คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 8(1), 159-172.

เสาวรภย์ แสงอรุณ และคณะ. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง พันธะเคมี ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดสุทธิวราราม กรุงเทพมหานคร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 21(2), 157-173.

อภิสิทธิ์ ธงไชย. (2555). วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีวิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์กับการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี, 18, 78-80.

อารี พันธ์มณี. (2545). ฝึกให้คิดเป็น คิดให้สร้างสรรค์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ใยไหม.

Clement, P. (2007). Introducing the Cell Concept with Both Animal and Plant Cells: A Historical and Didactic Approach. Science and Education, 16, 423-440.

Likert, S. (1961). New Patterns of Management. New York: McGraw-Hill.

Papert, S. (1993). Mindstorms: Children, Computers, And Powerful Ideas. New York: Harper Collins Publishers, Inc.

Williams, F.E. (1970). Classroom Ideas for Encouraging Thinking and Feeling. New York: D.O.K Publishing.