พุทธจิตวิทยาตามแนวการสอนหลักสูตรครูสมาธิของสมเด็จพระญาณวชิโรดม (วิริยังค์ สิรินฺธโร) เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวม

Main Article Content

ณญาน นลินขวัญ
เมธาวี อุดมธรรมานุภาพ
วิชชุดา ฐิติโชติรัตนา
สิริวัฒน์ ศรีเครือดง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์คุณลักษณะและองค์ประกอบของความเป็นรูปแบบแนวคิดพุทธจิตวิทยา 2) เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบหรือปัจจัยเกี่ยวกับคำว่ารูปแบบพุทธจิตวิทยา และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบพุทธจิตวิทยาตามแนวการสอนหลักสูตรครูสมาธิของสมเด็จพระญาณวชิโรดม (วิริยังค์ สิรินฺธโร) เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวม เป็นวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจาก ผู้เชี่ยวชาญด้านสมาธิจำนวน 21 รูป/คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง ตามคุณสมบัติที่กำหนด และสุ่มตัวอย่างแบบสโนว์บอลล์ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ มีทั้งหมด 3 รูปแบบ ดังนี้ 1. แบบสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึก 2. แบบคำถามสนทนากลุ่ม 3. แบบคำถามการประชุมผู้เชี่ยวชาญพิเศษ
ผลการวิจัยพบว่า
1. คุณลักษณะและองค์ประกอบที่โดดเด่นตามแนวการสอนหลักสูตรครูสมาธิของสมเด็จพระญาณวชิโรดม (วิริยังค์ สิรินฺธโร) 5 ประการที่สำคัญ คือ สุขภาวะองค์รวม 4 ด้าน, พลังจิตตานุภาพ, สัมมาสมาธิ, สมาธิไฮเทค, แนวการสอนหลักสูตรครูสมาธิของสมเด็จพระญาณวชิโรดม (วิริยังค์ สิรินฺธโร)
2. พบว่า สัทธรรม 3 เป็นแก่นของพระพุทธศาสนา ได้แก่ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธแนวการสอนหลักสูตรครูสมาธิสมเด็จสมเด็จพระญาณวชิโรดม (วิริยังค์ สิรินฺธโร) เป็น “พุทธปัญญา” ความเพียร 4 หรือ ปธาน 4 คือ หลักธรรมสัมมัปปธาน 4 ได้แก่ สังวรปธาน (เพียรป้องกัน) ปหานปธาน (เพียรแก้ไข) ภาวนาปธาน (เพียรพัฒนา) อนุรักขนาปธาน (เพียรรักษาให้ยั่งยืน) อุปาทกมนสิการ (การคิดแบบเร้ากุศล) กล่าวถึงอุปาทกมนสิการนั้นเป็นอาหารของสติสัมปชัญญะ การที่บุคคลจะกระทำดี พูดจาดีมีปิยวาจาได้นั้น ต้องเริ่มจากการที่คิดดีหรือการคิดที่เป็นบุญเป็นกุศลจิตที่ดีงามเป็นประการแรกและเป็นประการที่สำคัญ ตามแนวการสอนหลักสูตรครูสมาธิของสมเด็จพระญาณวชิโรดม (วิริยังค์ สิรินฺธโร) เหมาะสำหรับบุคคลทุกเพศทุกวัย ทั้งสมถะและวิปัสสนา ปฎิบัตจนเกิดนิพพิทาญาณ เกิดญาณทัสสนะเห็นตามความเป็นจริง หรือเรียกว่ามีธรรมะจักษุ ในความจริงทั้ง 4 ประการ คือปรมัตถธรรม จิต เจตสิก รูป นิพพาน
3. รูปแบบพุทธจิตวิทยาตามแนวการสอนหลักสูตรครูสมาธิของสมเด็จพระญาณวชิโรดม (วิริยังค์ สิรินฺธโร) เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวม ได้แก้ การสร้างปัญญา 3 อย่าง คือ สุตมยปัญญา (รู้ลึก) ปัญญาที่เกิดจากการฟังในคำสอน ในเนื้อหาหลักสูตรครูสมาธิ จินตามยปัญญา (รู้ปฏิบัติ) เป็นปัญญาที่เกิดจากการโยนิโสมนสิการ การคิดอย่างมีเหตุผล และภาวนามยปัญญา (รู้จริง) เป็นปัญญาจากการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนา

Article Details

How to Cite
นลินขวัญ ณ. ., อุดมธรรมานุภาพ เ., ฐิติโชติรัตนา ว., & ศรีเครือดง ส. (2024). พุทธจิตวิทยาตามแนวการสอนหลักสูตรครูสมาธิของสมเด็จพระญาณวชิโรดม (วิริยังค์ สิรินฺธโร) เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวม. วารสารพุทธจิตวิทยา, 9(1), 143–153. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/266252
บท
บทความวิจัย

References

กัญญาวีร์ ธัญญารัชตะ. (2564). การฝึกสมาธิตามแนวสติปัฏฐาน 4 ที่มีผลต่อการควบคุมตนเองของผู้เข้าร่วมปฏิบัติธรรม. วารสารพุทธจิตวิทยา, 6(2), 97-103.

กัลป์ยกร ลาภเดโช และสมบูรณ์ สุขสำราญ. (2565). บทบาทพระสงฆ์กับการพัฒนาสังคมไทย. วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี, 5(1), 1-16.

นภัทร์ แก้วนาค. (2555). เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data Analysis Technic) (QDAT Knowledge). เอกสารประกอบการสอนหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

พระพรหมบัณฑิต. (2564). พุทธจิตวิทยากับศาสตร์สมัยใหม่พัฒนาจิตใจของมนุษย์. เอกสารถอดเทปจากคำบรรยาย. วันไหว้ครู. เสาร์ 14 สิงหาคม.

พระครูพิจิตรวรเวท (มานัส มารยาท) และพระมหาสุเมฆ สมาหิโต. (2565). การประยุกต์ใช้หลักสัมมัปปธาน 4 เพื่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมของชาติ. วารสารวิจยวิชาการ, 5(1), 273-284.

พระครูภาวนาสังวรกิจ วิ. (สุวิทย์ คำมูล). (2561). การพัฒนาสุขภาวะองค์รวมสำหรับผู้สูงวัยตามแนวพุทธจิตวิทยา (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูวินัยธรศิริเชษฐ์ สิริวฑฺฒโน. (2564). การพัฒนาจิตใจมนุษย์โดยใช้หลักสติปัฏฐาน 4. มจร. เลย ปริทัศน์. 2(2), 136-149.

พระครูสิริรัตนานุวัตร, พระมหาไกรสร โชติปัญโญ, ประยูร สุยะใจ, อนันต์ อุปสอด, สานุ มหัทธนาดุลย์, (2559). รูปแบบและกระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะองค์รวมของครอบครัวและสังคม (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ปริศนา ไกรวิทย์. (2559). การประยุกต์ใช้หลักสมาธิในการดำเนินชีวิตของครูสอนสมาธิ (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

องค์การอนามัยโลก. (2560). การส่งเสริมสุขภาพจิต: แนวคิด หลักฐาน และแนวทางปฏิบัติ. เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.

มติคณะรัฐมนตรี. (2562). แนวทางและมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในกรุงเทพมหานคร/ปริมณฑล และในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2564, จาก https://www.ryt9.com/s/cabt/2950136

Investment Reader. (2562). ทำความรู้จักกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4: รวดเร็วและ disrupt ในวงกว้างกว่าครั้งไหน ๆ. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2564, จาก https://www.finnomena.com/ investment-reader/4ir/

Peer Power Team. (2562). Digital Disruption การเปลี่ยนแปลงและการปรับตัว. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2564, จาก https://www.peerpower.co.th/blog/investor/analysis/digital-disruption

John F. Helliwell, Haifang Huang, Shun Wang, Max Norton. (2021). Happiness, Trust and Deaths under COVID-9,World happiness report. Retrieved April 27, 2021, from https://worldhappiness.report/ed/2021/happiness-trust-and-deaths-under-covid-19

Macmillan, T.T. (1971). The Delphi Technique. Paper Presented at the annual meeting of the California Junior Colleges Associations Committee on Research and Development, Monterey, California. (May 1971), 3-5.