การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะระหว่างวัฒนธรรมที่พึงประสงค์ของผู้ฝึกสอนกีฬาเทควันโด ในจังหวัดชายแดนใต้

Main Article Content

จารึก สระอิส
โอภาส เกาไศยาภรณ์
อดิศร ศิริ
ณรงค์ศักดิ์ รอบคอบ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาตัวบ่งชี้สมรรถนะระหว่างวัฒนธรรมที่พึงประสงค์ 2) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะระหว่างวัฒนธรรมที่พึงประสงค์ และ 3) เพื่อตรวจสอบประเมินความสอดคล้องของตัวบ่งชี้สมรรถนะระหว่างวัฒนธรรมที่พึงประสงค์ ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามปลายเปิดในรอบที่ 1 และนำมาจัดเป็นข้อย่อย และตัดข้อมูลที่ซ้ำซ้อนออก เพื่อสร้างเป็นข้อคำถามในแบบสอบถามในรอบที่ 2 และรอบที่ 3 ต่อไป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบบันทึกการสังเคราะห์เอกสาร 2) แบบสัมภาษณ์เชี่ยวชาญเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และ 3) แบบประเมินตนเองด้านสมรรถนะระหว่างวัฒนธรรมที่พึงประสงค์ และ 4) แบบประเมินความสอดคล้องของตัวบ่งชี้สมรรถนะระหว่างวัฒนธรรมที่พึงประสงค์ ตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหา การวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการวิเคราะห์สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่ามัธยฐาน (Median: MD) ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และค่าสัมบูรณ์ความแตกต่างระหว่าง ค่ามัธยฐานกับค่าฐานนิยม (|Md-Mo|)


ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวบ่งชี้สมรรถนะระหว่างวัฒนธรรมที่พึงประสงค์ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 12 ตัวบ่งชี้ คือ องค์ประกอบที่ 1 คุณลักษณะทางวัฒนธรรม ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 2 ความตระหนักทางวัฒนธรรม ประกอบด้วย 2 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 3 ความรู้ความเข้าใจทางวัฒนธรรม ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบที่ 4 ทักษะทางวัฒนธรรม ประกอบด้วย 4 ตัวบ่งชี้  2) การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะระหว่างวัฒนธรรมที่พึงประสงค์ โดยวิธีการวิจัย EDFR พบว่า กลุ่มผู้เชี่ยวชาญทั้ง 17 ท่าน มีความเห็นฉันทมติสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งจะเห็นได้ว่าแนวโน้มที่มีโอกาสเป็นไปได้ในระดับมาก (Md. ≥3.5) และมีความเห็นสอดคล้องในแต่ละแนวโน้ม (QR ≤ 1.5) และเป็นแนวโน้มที่พึงประสงค์ (มีค่าร้อยละ 85 ขึ้นไป) และ 3) การตรวจสอบประเมินรับรองคุณภาพตัวบ่งชี้สมรรถนะระหว่างวัฒนธรรมที่พึงประสงค์ มีความเหมาะสมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บุญเรียง ขจรศิลป์. (2543). วิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: พี.เอ็น.

ณิชาภา จันทร์เพ็ญ และ วรรณี แกมเกตุ. (2555). การพัฒนาตัวบ่งชี้และแบบวัดสมรรถนะข้ามวัฒนธรรมของครู: การทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนตามภูมิหลังของครู. วารสาร อเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 8, 1151-1165.

วิเชียร พันธุ์เครือบุตร. (2557). สมรรถนะการประกอบวิชาชีพและการทางานข้ามวัฒนธรรมใน ประชาคมอาเซียนของบัณฑิตไทย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 2(2), 225-232.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2550). ทฤษฎีการประเมิน. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สามลดา.

ศิริพันธุ์ ศิริพันธุ์ และประณีต ส่งวัฒนา. (2557). วิธีการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะทางวัฒนธรรมของนักศึกษาพยาบาลตามแนวคิดทฤษฎีของ แคมพินฮา-บาโคท. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 6(1), 146-157.

Annandale, N. O., Heath, M. A., Dean, B., Kemple, A. and Takino, Y. (2011). Assessing Cultural Competency in School Crisis Plans. Journal of School Violence, 10(1), 16-33.

Caligiuri, P., Tarique, I. (2012). Dynamic cross-cultural competencies and global leadership effectiveness. Journal of World Business, 47, 612–622.

Johnson,J.P.,Lenartowicz, T. and Apud, S. (2006). Cross-cultural Competence in International Business: Toward a Definition and a Model. Journal of International Business Studies, 37, 525-543.

Lister, P. (1999). A taxonomy for developing cultural competence. Nurse Education Today, 19(4),313-318.

Martin, M. and Vaughn, B. E. (2007). Strategic Diversity and Inclusion Management magazine. San Francisco, CA: DTUI Publications Division.

Ramula, S. S., Rose, R. C., Uli, J. & Kumar, N. (2010). Personality and Cross-Cultural Adjustment among Expartriate Assignees in Malaysia. International Business Research, 3(4), 96-104.