รูปแบบการปฏิบัติต่ออิริยาบถในการปฏิบัติกรรมฐานของผู้สูงอายุในปัจจุบัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพการปฏิบัติกรรมฐานและรูปแบบการปฏิบัติต่ออิริยาบถในการปฏิบัติกรรมฐานของผู้สูงอายุสังคมไทยในปัจจุบัน 2. ศึกษาวิธีการการปฏิบัติต่ออิริยาบถในการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนาเถรวาท 3. เสนอรูปแบบการปฏิบัติต่ออิริยาบถในการปฏิบัติกรรมฐานของผู้สูงอายุในปัจจุบัน งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุในสำนักปฏิบัติธรรม จำนวน 16 รูป/คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบการสัมภาษณ์ และแบบสังเกต วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลแล้วนำมาเขียนบรรยายเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการปฏิบัติกรรมฐานในปัจจุบัน ผู้สูงอายุสามารถเรียนรู้อิริยาบถอย่างเหมาะสมกับสภาพร่างกาย อิริยาบถใหญ่ที่ได้รับความนิยมของผู้สูงอายุ ได้แก่ อิริยาบถนั่ง รองลงมา คือ อิริยาบถเดินที่เรียกว่าเดินจงกรม ต่อมาคืออิริยาบถยืน และสุดท้าย คือ อิริยาบถนอน ซึ่งอิริยาบถนอนแทบจะไม่นิยมนำมาใช้เพราะง่ายต่อการหลับ อิริยาบถย่อยที่ได้รับความนิยมในการฝึกของผู้สูงอายุ เช่น ยก ขึ้น
ลง หยิบ จับ ตัก อ้า อม ดื่ม กัด เคี้ยว กลืน ขยับ ก้ม เงย เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ยากจนเกินไป ปฏิบัติได้ทุกที่ทุกเวลา 2) วิธีการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนาเถรวาท มีการปฏิบัติต่ออิริยาบถ ปรากฏในมหาสติปัฏฐานสูตร อิริยาบถบรรพ คือ การกำหนดอิริยาบถใหญ่น้อย เป็นแนวทางที่ผู้สูงอายุนำมาปฏิบัติกรรมฐานได้ 3) รูปแบบการปฏิบัติต่ออิริยาบถในการปฏิบัติกรรมฐานของผู้สูงอายุในปัจจุบันที่ได้จากการวิจัยเป็น 5 รูปแบบ ดังนี้ 1.รูปแบบอิริยาบถนอนอย่างพระตถาคต 2.รูปแบบอิริยาบถนั่งแบบบัลลังก์ 3.รูปแบบอิริยาบถยืนแบบสำรวม 4.รูปแบบอิริยาบถเดินแบบพญาราชสีห์ 5.รูปแบบอิริยาบถย่อย กิน ดื่ม ทำดี พูดดี คิดดี
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
คำพอง สมศรีสุข. (2546). การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธธรรม ศึกษากรณีการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวของหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
จุฑารัตน์ แสงทอง. (2560). สังคมผู้สูงอายุ (อย่างสมบูรณ์): ภาวะสูงวัยอย่างมีคุณภาพ. วารสารรูสมิแล, 38(1), 1.
ณอภัย พวงมะลิ. (2561). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 ของศูนย์ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานวัดถ้ำพระผาคอก อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ณัฐปคัลภ์ กล้าหาญ. (2565). คิดดี ทำดี พูดดี ชีวิตมีแต่ความสุข. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2565, จาก https://bsctrainingcenter.com
นัสมล บุตรวิเศษ และ อุปริฏฐา อินทรสาด. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
ผ่องพรรณ อรุณแสง. (2555). การพยาบาลปัญหาสำหรับผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 10. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
ภาณุวัฒก์ ว่องตระกูลเรือง. (2565). ลูกหลานรู้จัก เข้าใจ ภาวะการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุตามวัย. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.nakornthon.com
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2565). สังคมผู้สูงอายุ: นัยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2565, จาก http://www.stou.ac.th/