การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพของผู้ปฏิบัติงานรักษาความปลอดภัย ประจำท่าเรือที่มีลักษณะพิเศษ

Main Article Content

รุจน์ เฉลยไตร
ศิลปชัย บูรณพานิช
นภาภรณ์ ธัญญา
อดิศร ศิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัญหาปัจจุบันและความต้องการ (2) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม (3) ทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม และ (4) ประเมินผลของการใช้หลักสูตรฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพของผู้ปฏิบัติงานรักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือที่มีลักษณะพิเศษ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 300 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง หลักสูตรฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ แบบวัดเจตคติ และแบบการประเมินผลการนำหลักสูตรไปใช้จริง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที


ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลสภาพปัญหาปัจจุบันและความต้องการ พบว่า ผู้ปฏิบัติงานรักษาความปลอดภัยประจำท่าเรือสามารถปฏิบัติงานได้อย่างหลากหลายตามบทบาทหน้าที่อยู่ในระดับมาก (2) ผลการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพ โดยใช้ขั้นตอนของ Taba (1962) ทั้งหมด 7 ขั้นตอน ได้แก่ การวินิจฉัยความต้องการ การกำหนดวัตถุประสงค์ การเลือกเนื้อหา การจัดองค์ประกอบของเนื้อหา การเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ การจัดองค์ประกอบของประสบการณ์การเรียนรู้ และกำหนดสิ่งที่จะประเมินและสิ่งที่จะประเมิน 3) ผลการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม พบว่า (1) ความรู้ ความสามารถในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และมีค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) คุณลักษณะอันพึงประสงค์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.38, S.D.= 0.72) และ (3) เจตคติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.57, S.D.= 0.77) 4) ผลการประเมินผลการนำหลักสูตรฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพ โดยใช้แบบจำลองซิปป์ พบว่า หลักสูตรฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพที่พัฒนาขึ้นผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.41, S.D.= 0.04)

Article Details

How to Cite
เฉลยไตร ร., บูรณพานิช ศ., ธัญญา น., & ศิริ อ. (2022). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพของผู้ปฏิบัติงานรักษาความปลอดภัย ประจำท่าเรือที่มีลักษณะพิเศษ. วารสารพุทธจิตวิทยา, 7(2), 157–171. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/264834
บท
บทความวิจัย

References

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2559). โครงการวิจัยมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพธุรกิจ รักษาความปลอดภัย. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2565, จาก https://www.rmutt.ac.th/content/39205

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาร์น.

ปานจินต์ สุทธิกวี.(2561). ระบบกฎหมายไทย: ปฏิรูป/เปลี่ยนผ่าน/ปฏิสังขรณ์. ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายตาม พระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รัตนาภรณ์ จันวิไชย. (2562). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อลดผลกระทบการใช้ครือข่ายสังคมของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 15(2), 163-173.

ปุณณวัชร นาคเงิน.(2558). สมรรถนะหลักกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร ศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการกองทัพไทย (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ศูนย์วิจัยธนาคารกสิกรไทย. (2559). ธุรกิจรักษาความปลอดภัย: ธุรกิจที่ยังเติบโตต่อเนื่อง. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2564, จาก https://www.kasikornresearch.com/th/keconanalysis/pages/ViewSum maryaspx?docid=25197.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2560). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอกนฤน บางท่าไม้. (2560). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนบนเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตเชิงสร้างสรรค์สำหรับผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา.วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 37(1),94-117.

Bernardes, E. S., & Zsidisin, G. A. (2008). An examination of strategic supply management benefits and performance implications. Journal of Purchasing & Supply Management, 14(2), 209-219.

Edmonton Regional Learning Consortium. (2013). Competency focused learning. Retrieved March 21, 2015, from http://erlc.ca/resources/resources/learning_guides_for_ parents/ documents/competency-focused-learning-parent-guide.pdf

Henson, K.T. (2001). Curriculum Planning : Integrating, Multiculturalism, Constructivism and Education Reform. New York: McGraw – Hill.

McClelland, D. C. (1973). Testing for competence rather than for intelligence. American Psychologist, 28(1), 1-14.

Ornstein, A. C., & Hunkins, F. P. (1993). Curriculum foundations, principles and issues. (2nd ed.) Boston: Allyn and Bacon.

Taba, H. (1962). Curriculum Development Theory and Practice. New York: Harcourt, Brace and World.

TNN News. (2559). ธุรกิจ รปภ. รุกพัฒนานวัตกรรมทดแทนแรงงานคน. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2564, จาก http://www.tnnthailand.com/news_detail.php?id=108121&t=news_special