ผลของโปรแกรมกลุ่มพัฒนาตนเชิงพุทธกับการฝึกสมาธิแบบอานาปานสติต่อความเครียดของพนักงานเอกชนแห่งหนึ่ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการศึกษาความเครียดในการทำงาน ของพนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง 2. เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมกลุ่มพัฒนาตนเชิงพุทธ และการเจริญสมาธิแบบอาณาปานสติต่อความเครียดของพนักงานบริษัทเอกชน ใช้วิธีวิจัยเชิงทดลอง แบ่งเป็น 2 ระยะ คือระยะที่ 1 ศึกษาระดับความเครียดของพนักงานบริษัท ด้วยการวิจัยเชิงสำรวจ และระยะที่ 2 ทดลองโปรแกรมกลุ่มพัฒนาตนเชิงพุทธและการเจริญสมาธิแบบอาณาปานสติ ด้วยการวิจัยเชิงทดลอง และการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อติดตามผลจากการทดลอง นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ได้ผลวิจัยดังนี้ จากตารางกลุ่มทดลองมีจำนวน 8 คน แบ่งเป็นเพศชาย จำนวน 3 คน เพศหญิง จำนวน 5 คน ผลโปรแกรมกลุ่มพัฒนาตนเชิงพุทธกับการฝึกสมาธิแบบอานาปานสติต่อความเครียดของพนักงานเอกชนแห่งหนึ่ง ก่อนการทดลอง มีคะแนนความเครียด ค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนการทดลองคือ 23.75 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานคือ 1.39 หลังการทดลอง ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 32.38 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเพิ่มขึ้นเป็น 2.92 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนความสุขก่อนและหลังการทดลองโดยใช้สถิติแบบนอนพาราเมตริก Wilcoxon Matched Pairs พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2557). คู่มือคลายเครียด. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ร.ส.พ.
ผจญ เฉลิมสาร. (2555). คุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality Of Working Life). สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2565, จาก www.society.go.th/article_attach
มรรยาท รุจิวิทย์. (2548). การจัดการความเครียดเพื่อสร้างเสริมสุขภาพจิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รุจี ดีอินทร์. (2553). การนำเสนอโปรแกรมการลดความเครียดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดอุตรดิตถ์ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬลงกรณ์มหาวิทยาลัยปีการศึกษา.
Lazarus, R. and Folkman, S. (1985). Stress Apprasial and coping. New York: Spring Publishing.