มายาคติวัฒนธรรมทางความเชื่อ พิธีกรรม: การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล
Main Article Content
บทคัดย่อ
มายาคติของวัฒนธรรมทางความเชื่อ พิธีกรรม ในสังคมไทย นำเสนอข้อค้นพบจากสัญญะสื่อความหมาย การปรากฏเกิดขึ้นของภาพลักษณ์ทางความเชื่อ ประกอบด้วยรูปแบบทางความเชื่อ พิธีกรรมกล่าวคือยุคสมัยภูมิภาคเอเชียอาคเนย์เกิดจากความเชื่อพิธีกรรมดั้งเดิม การแห่นางแมวเพื่อขอฝน และมายาคติความเชื่อ ความศรัทธาการเช่าพระบูชา พิธีกรรมเวียนเทียนออนไลน์ในยุคสมัยดิจิทัลของสังคมไทย ประเด็นสำคัญเรื่องมายาคติทางความเชื่อกับการเปลี่ยนผ่านรูปแบบความเชื่อสู่พิธีกรรม จึงเป็นการแสดงออกซึ่งปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรม และภาพลักษณ์มายาคติทางความเชื่อ จากกรณีศึกษาเชิงเทียบเคียงวัฒนธรรมทางความเชื่อ พิธีกรรมทั้ง 2 ช่วงยุคสมัย พบว่าวัฒนธรรมชุมชน ประกอบด้วยพิธีกรรมเสริมสร้างกิจกรรมชุมชนด้วยการผสมผสานความเชื่อกับวิถีชีวิตคนไทยในสังคมเกษตรกรรมเข้าด้วยกัน ส่วนความเชื่อ พิธีกรรมของคนในยุคสมัยดิจิทัล จึงเป็นการรับรู้ชุดข้อมูลทางความเชื่อ พิธีกรรมด้วยการสื่อสารออนไลน์ ความรวดเร็วทั้งจากการรับและส่งข้อมูล จึงทำให้วิถีชีวิตของผู้คนได้เปลี่ยนผ่านเข้าสู่ความเป็นยุคสมัยที่แตกต่างกันบนพื้นฐานความเชื่อเดียวกัน ในยุคสมัยปัจจุบันสังคมไทยต้องเผชิญกับโรคระบาดโควิด-19 อุปกรณ์เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นทางเลือกเพื่อเข้าถึงความเชื่อและพิธีกรรมทดแทน ทำให้พิธีกรรมของวัฒนธรรมชุมชนถูกลดบทบาทลง ความเชื่อ พิธีกรรมทั้ง 2 ยุคสมัยได้สะท้อนตามหลักแนวคิดมายาคติวัฒนธรรมทางความเชื่อ พิธีกรรมถูกเชื่อมโยงด้วยกระบวนการรับรู้สัญญะเนื้อในสสาร โดยมีรูปแบบทางความเชื่อและหรือภาพลักษณ์ได้ถูกผันแปรตามยุคสมัยในลักษณะเฉพาะเจาะจง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงวัฒนธรรมศรีสะเกษ. (2560). แห่นางแมว. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2565, จาก https://www.m-culture.go.th/sisaket/ewt_news.php?nid=810&filename=index
กาญจนา แก้วเทพ. (2557). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
งามพิศ สัตว์สงวน. (2558). หลักมานุษยวิทยาวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2537). วัฒนธรรมไทยกับขบวนการเปลี่ยนแปลงสังคม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชูติสันต์ เกิดวิบูลย์เวช. (2560). สื่อดิจิทัลใหม่ สื่อแห่งอนาคต. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2545). สัญวิทยา โครงสร้างนิยมหลังการสร้างนิยมกับการศึกษารัฐศาสตร์. กรุงเทพฯ: วิภาษา.
ณรงค์ เส็งประชา. (2541). มนุษย์กับสังคม. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.เฮ้าส์.
ธมนวรรณ แจ่มจำรัส และคณะ. (2564). ธุรกิจพระเครื่องออนไลน์กับวิถีความเชื่อในยุค 4.0. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ,6(1), 69-83.
ธัญญาภรณ์ พลายงาม, ชนัย วรรณลี และอัควิทย์ เรืองรอง. (2560). พิธีกรรมและการแสดงในการขอฝนของวัฒนธรรมอีสาน. วารสารสนเทศ,16(2), 99-114.
บาร์ตส์ โรล็องด์. (2551). มายาคติ [Mythologies]. (วรรณพิมล อังคศิริสรรพ, แปล). กรุงเทพฯ: โต๊ะไฟ.
ปรีชา ช้างขวัญยืน และสมภาร พรมทา. (2556). มนุษย์กับศาสนา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัชรกล รัตนกิจ. (2537). มุมมองสังคมไทยแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: เอ็ม.ที.เพรส.
สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์. (2537). มุมมองสังคมไทยแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: เอ็ม.ที.เพรส.
เสฐียรโกเศศ. (2515). เมืองสวรรค์และผีสางเทวดา. พระนคร: บรรณาคาร.
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ. (2560). แห่นางแมว. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2565, จาก https://www.m-culture.go.th/sisaket/ewt_news.php?nid=810&filename=index
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์. (2564). ขอเชิญร่วมกิจกรรมเวียนเทียนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2565, จาก https://www.m-culture.go.th/buriram/ewt_news.php?nid=1910&filename=index
สุกัญญา สุจฉายา. (2558). พิธีกรรมขอฝนของชนชาติไท. วารสารมนุษยศาสตร์,22(2), 27-61.
สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดพัทลุง. (2565). เวียนเทียนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2565, จาก https://plg.onab.go.th/th/content/category/detail/id/9/iid/7273
อภิชัจ พุกสวัสดิ์. (2560). นวัตกรรมการประชาสัมพันธ์เชิงกลยุทธผ่านการสื่อสารเครือข่ายสังคมออนไลน์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Shopee Shopping online. (2564). ตลาดพระเครื่องออนไลน์ เช่าพระเครื่องรุ่นยอดนิยม เสริมสิริมงคล. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2565, จาก https://shopee.co.th/m/shop-best-buddhist-amulet