สุขวิถี: การส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช ตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

Main Article Content

ภัชรา เมฆาวรรณ์
สุปรีชา ชำนาญพุฒิพร
กันตภณ หนูทองแก้ว

บทคัดย่อ

ดุษฎีนิพนธ์เรื่องสุขวิถี: การส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช ตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนจังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อศึกษาหลักธรรมในการส่งเสริมคุณภาพชีวิต 3) เพื่อบูรณาการหลักธรรมในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดนครศรีธรรมราชตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา 4) เพื่อเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับสุขวิถี: การส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช ตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยรวบรวมข้อมูลทางเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึก ใช้วิธีการเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ในการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบเจาะจง และจัดเวทีเสวนากลุ่ม จากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 16 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์เนื้อหาโดยวิธีพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า


1) แนวคิดการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนจังหวัดนครศรีธรรมราชการพัฒนาคุณภาพชีวิตในพระพุทธศาสนานั้นจะต้องมีการพัฒนาทั้ง 4 ด้านได้แก่ ทางกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา


2) หลักธรรมในการส่งเสริมคุณภาพชีวิต ด้านร่างกาย ใช้หลักเบญจศีล เบญจธรรมและฆราวาสธรรม ด้านอารมณ์ ใช้หลักขันติ สติและเมตตา ด้านสังคม ใช้หลักสังคหวัตถุ และพรหมวิหาร และด้านสติปัญญา
ใช้หลักไตรสิกขา หัวใจนักปราชญ์ และพหูสูตร


3) การบูรณาการหลักธรรมในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช ตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาทั้ง 4 ด้าน คือ สุขวิถีทางกายโดยการส่งเสริมด้านศีลธรรม สุขวิถีทางอารมณ์โดยการฝึกความอดทน สุขวิถีทางสังคมโดยการดูแลเอาใจใส่ และสุขวิถีทางสติปัญญาโดยการเพิ่มวุฒิทางปัญญา(รอบรู้)


4) องค์ความรู้เกี่ยวกับ สุขวิถี : การส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดนครศรีธรรมราชตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เรียกว่า METI MODEL ดังนี้ M=(Morality) ศีลธรรม E=(Endurance) อดทน T=(Taking Care) ดูแลเอาใจใส่ I=(Intellectual) วุฒิทางปัญญา (รอบรู้)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา หาญศรีวรพงศ์. (2561). การสร้างดุลยภาพชีวิตตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2564). ดัชนีชี้วัดความสุขคนไทย Thai Happiness Indicators (TMHI–66). สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2564, จาก http:// www.dmh.go.th

แผนงานสุขภาวะองค์กรภาคเอกชน. (2552). มาสร้างองค์กรแห่งความสุขกันเถอะ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2562). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) และคณะ. (2560). ทิศทางการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พัชรี หล้าแหล่ง. (2556). การศึกษาคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนปาล์มนํ้ามันในพื้นที่ภาคใต้ (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาแม่โจ้ จังหวัดชุมพร.

ยุพา อุดมศักดิ์. (2550). ประชากรกับคุณภาพชีวิต. กรุงเทพฯ: วิบูลย์กิจ.

รักดี โชติจินดา และเจริญเกียรติ ธนสุขถาวร. (2550). ความสุข : หลากหลายข้อค้นพบของศาสตร์ใหม่แห่งความสุข=Happiness : Lessons from a New Science. กรุงเทพฯ: ศูนย์จิตตปัญญาศึกษาร่วมกับสำนักพิมพ์สวนเงินมีมา.

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครศรีธรรมราช. (2563). รายงานสถานการณ์ทางสังคมจังหวัดนครศรีธรรมราช ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

สาริกา หาญพานิชย์. (2559). การศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตเชิงพุทธบูรณาการ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น.

องค์การอนามัยโลก. (2556). พัฒนาการสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ. แปลจาก Milestones in Health Promotion: Statements from global conferences. แปลโดย สินศักดิ์ชนม์ อุ่นพรม. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

อภิชัย มงคล. (2552). รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาและทดสอบดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทย.กรุงเทพฯ: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

Brant, P.A. and Weinert. C. (1985). PRQ: Psychometric Update. Unpublished Manuscript. Washington, DC: School of Nursing, University of Washington.

UNESCO. (1981). Quality of Life: An Orientation to Population Education. New York: UNESCO.