คุณลักษณะจิตมิติของแบบวัดจิตตะ

Main Article Content

ณายา เทพธรณินทรา
เมธาวี อุดมธรรมานุภาพ
วริทธิ์ตา จารุจินดา

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบวัดคุณลักษณะจิตมิติของแบบวัดจิตตะ ด้วยหลักธรรมอิทธิบาทสี่ สำหรับคนวัยทำงาน และเพื่อตรวจสอบค่าอำนาจจำแนก ความเที่ยงตรง และค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดให้มีคุณภาพตามเกณฑ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดจิตตะจำนวน 13 ข้อ สร้างขึ้นจากการสังเคราะห์ความหมายและองค์ประกอบจิตตะ กลุ่มตัวอย่าง ได้มาจากการสุ่มกลุ่มคนวัยทำงาน อายุ  30- 50 ปี จำนวน 100 คน ตรวจสอบความเที่ยงตรง (Validity) ตรวจความเที่ยงตรงเชิงเหมือน (Convergent Validity) โดยใช้แบบวัดสติของ Philadelphia Mindfulness Scale (PHLMS)  ประยุกต์ใช้โดย สุวัฒน์ ธนกรนุวัฒน์ ผลการทดสอบพบว่าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันเท่ากับ .235 มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อกัน ตรวจความเที่ยงตรงเชิงจำแนก (Discriminant Validity) โดยใช้แบบวัดหุนหันพลันแล่นของ อมร สุดแสวง ภัทราวดี มากมี และ กนก พานทอง (2562) แปลมาจากแบบวัด Barratt Impulsiveness Scale (BIS-11)
ผลการทดสอบ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน เท่ากับ -.571  ซึ่งมีความสัมพันธ์เชิงลบกับแบบวัดจิตตะอย่างมีนัยสำคัญ และตรวจสอบค่าอำนาจจำแนก (Corrected Item-Total Correlation, CITC) ของแบบวัดจิตตะอยู่ในช่วง .541-.821 และหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามชนิดวัดซ้ำ (Test – retest reliability) มีค่าเท่ากับ .758 ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 


ผลการวิจัยสรุปได้ว่าคุณภาพของแบบวัดจิตตะอยู่ในระดับดี สามารถใช้ประเมินความมีจิตตะได้จริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาวิจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไปได้  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โอม สุขสมยศ. การพัฒนาช่วงความสนใจและสมาธิของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ กิจกรรมการเล่น (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส อินทปัญโญ). (ม.ป.ป.). โพธิปักขิยธรรม. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

พระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตโต). (2553). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ: เพิ่มทรัพย์.

ศรีธัญญา ตันสกุล. (2552). ผลของการใช้ความเร็วจังหวะของเสียงดนตรีประกอบในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีต่อการรู้และความคงทนในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีสมาธิบกพร่องและพฤติกรรมที่ไม่อยู่นิ่ง (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ศุภณัฐ รัตนปกรณ์. (2017). ผลของโปรแกรมการฝึกยิงประตูและสมาธิอานาปานสติที่มีต่อความ สามารถในการเลี้ยงและความแม่นยำในการยิงประตูของนักกีฬาฟุตบอลโรงเรียนอุดรพิทยานุกูล. Journal of Education Khon Kaen University (Graduate Studies Research), 11(1), 189-196.

สรรเสริญ หุ่นแสน และจิราภรณ์ พจนาอารีย์วงศ์. (2562). การพัฒนาแบบวัดการจัดการชีวิต ด้านการเรียนของนักเรียนวัยรุ่น. วารสารราชพฤกษ์, 17(1) 27-33.

สุธาศินี เวชพราหมณ์. (2555). ผลของการฝึกสมาธิแบบอานาปานสติ และการจินตภาพที่มีผลต่อ ความสามารถในการยิงประตูโทษบาสเกตบอล. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ,13(3), 21-29.

สุวัฒน์ ธนกรนุวัฒน์. (2562). ผลของการฝึกสติและคิดบวกที่มีต่อสุขภาวะเชิงอัตวิสัยของบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชน (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Stanford, M. S. et al. (1996). Impulsiveness and risk-taking behavior: Comparison of high-school and college students using the Barratt Impulsiveness Scale. Personality and individual differences, 21(6), 1073-1075.