ความสัมพันธ์โพธิจิตพุทธเกษตร

Main Article Content

พระบุญช่วย ฐิตจิตฺโต (ยังสามารถ)

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาโพธิจิตในพระพุทธศาสนามหายาน 2) ศึกษาพุทธเกษตรในพระพุทธศาสนามหายาน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของโพธิจิตกับเส้นทางพุทธเกษตรในพระพุทธศาสนามหายาน ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ พร้อมทั้งนำเสนอผลการศึกษาด้วยวิธีการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ในการศึกษาถึงเรื่องของโพธิจิต ซึ่งเป็นจิตที่บริสุทธิ์ เป็นจิตที่ว่าง ปราศจากมลทิน เป็นศักยภาพอันลึกซึ้ง และซ่อนเร้นอยู่ในสรรพสัตว์ทั้งหลาย ผู้บำเพ็ญโพธิสัตว์จรรยาย่อมสามารถเข้าถึงพุทธเกษตร หรือวิสุทธิภูมิได้ด้วยหลักธรรมสำคัญที่จะนำไปสู่ความเป็นพระโพธิสัตว์บนฐานจริยธรรม ทั้งนี้ หากผู้ประพฤติปฏิบัติสามารถบำเพ็ญบารมีเต็มเปี่ยม ยกระดับจิตของตนเข้าถึงวิสุทธิภูมิภายในตนแล้ว ก็จะเข้าถึงดินแดนพุทธเกษตรตามคติมหายานได้อย่างเหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

พรรณชนก ธีระกุล. (2553). มโนทัศน์เรื่องพุทธเกษตรในพุทธศาสนามหายาน (วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระปรีชา เถี่ยนกือ (โพธิ์เงิน) และคณะ. (2562). แนวทางการเสริมสร้างความเป็นโพธิสัตว์บนฐานจริยธรรมของพระพุทธศาสนามหายานตามแนวพุทธจิตวิทยา. วารสารมหาจุฬานาคร

ทรรศน์, 6(8), 4030-4040.

พระมหาสายัณห์ วิสุทโธ (เทียนครบ) และคณะ. (2561). โพธิจิตในพระพุทธศาสนามหายาน: ศึกษาวิเคราะห์บนฐานพระพุทธศาสนายุคต้น. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 18(3), 337-349.

พระสันติ สิทธิสมบูรณ์ (ถ่ออาง). (2554). การศึกษาเปรียบเทียบการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทกับมหายาน (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วศิน อินทสระ. (2545). พุทธปรัชญามหายาน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สมภาร พรมทา. (2534). พุทธศาสนามหายาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมภาร พรมทา. (2546). พุทธศาสนานิกายเซน: การศึกษาเชิงวิเคราะห์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุมาลี มหณรงค์ชัย. (2547). พุทธศาสนามหายาน. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

สุวรรณา สถาอานันท์. (2536) ปรัชญาพุทธทาสกับมหายานธรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิญ รักสัตย์. (2552). พระพุทธศาสนามหายาน. กรุงเทพฯ: บางกอกบล็อก.

เสถียร พันธรังสี. (2512). พุทธศาสนามหายาน. ธนบุรี: โรงพิมพ์ประยูรวงศ์.

Dayal, H. (1970). The Bodhisattva Doctrine in Buddhist Sanskrit Literature. Delhi: Sundarlal Jain.

Harvey, P. (1990). An introduction to Buddhism: Teaching history and practice. United Kingdom: Cambridge University.

Tsele Natsok Rangdröl. (2549). ประทีปแห่งมหามุทรา (Lamp of Mahamutra). กรุงเทพฯ: ส่องศยาม.

Watson, B. (2547). สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus Sutra). สมาคมสร้างคุณค่าในประเทศไทย. นนทบุรี: สมาคมสร้างคุณค่าในประเทศไทย.