สุขภาพจิตของผู้ปฏิบัติธรรมศรัทธาวาสหญิง วัดพระธรรมกาย จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

ธัญญลักษณ์ ธรรมสุนทร
เมธาวี อุดมธรรมานุภาพ
สุวัฒสัน รักขันโท

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ เพื่อศึกษา สุขภาพจิตของผู้ปฏิบัติธรรมศรัทธาวาสหญิงวัดพระธรรมกาย จังหวัดปทุมธานี รูปแบบงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ระหว่างการวิจัยเชิงประมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยประชากร คือผู้ปฏิบัติธรรมศรัทธาวาสหญิง วัดพระธรรมกาย ที่เข้าร่วมโครงการปฏิบัติธรรมพิเศษ ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน – 26 ธันวาคม พ.ศ 2563 จำนวน 135 คน ในการวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการฝึกสมาธิเบื้องต้นตามแนวปฏิบัติของพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปูวัดปากน้ำ ภาษีเจริญแล้วใช้แบบวัดดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยของกรมสุขภาพจิต โดยเลือกใช้เฉพาะ 66 ข้อ นำข้อมูลที่ได้จากการวัดมาวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติการทดสอบค่าใช้การวิเคราะห์หาค่า t – test (Independent Samples Test) และ ค่า F (One-way ANOVA) และใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In – depth interview) ผลการวิจัยพบว่า 1. ดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตในภาพรวมของผู้ปฏิบัติธรรมศรัทธาวาสหญิงวัดพระธรรมกายกลุ่มนี้ มีคะแนนเฉลี่ยรวม 150.16 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 23.98 มีสุขภาพจิตดีกว่าคนทั่วไป (Good) 2. ที่พักอาศัยมีความสัมพันธ์กับระดับสุขภาพจิตของผู้ปฏิบัติธรรมศรัทธาวาสหญิงวัดพระธรรมกาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=4.044*, p-value=.000) นั่นคือ กลุ่มตัวอย่างที่พักในวัดมีระดับสุขภาพจิตสูงกว่า กลุ่มตัวอย่างที่พักนอกวัด (คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.37 และ 2.13 ตามลำดับ) 3. การมีบุตรมีความสัมพันธ์กับระดับสุขภาพจิตของผู้ปฏิบัติธรรมศรัทธาวาสหญิงวัดพระธรรมกาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=1.999*, p-value=.048) นั่นคือ กลุ่มตัวอย่างที่ไม่มีบุตรมีระดับสุขภาพจิตสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีบุตร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทักษิณา ข่ายแก้ว. (2560). ผลวิจัยชิ้นใหม่วิจัยพบ "การนั่งสมาธิ" ช่วยบำบัดโรควิตกกังวลและลดความเครียดได้. ค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2564, จาก: https://www.voathai.com/a/meditation-anxiety-ct/3870441.html

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2554). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. ครั้งที่ 20. กรุงเทพฯ: บริษัท สหธรรมิก จํากัด.

พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ. ปยุตโต. (2544). ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง. พิมพ์ครั้งที่ 75. กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย จํากัด.

สุภัททา ปิณฑะแพทย์. (2542). พฤติกรรมมนุษย์และการพัฒนาตน. กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.

อัมพร โอตระกูล. (2540). สุขภาพจิต. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.