ผลของกิจกรรมตามแนวพุทธจิตวิทยาบูรณาการแพทย์แผนไทย เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุตามแนวคิดพุทธจิตวิทยา

Main Article Content

ชำมะนาฏแสนยากร ช่วยกันจักร์

บทคัดย่อ

วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัญหาด้านสุขภาวะของผู้สูงอายุ 2) เพื่อสร้างกิจกรรมตามแนวพุทธจิตวิทยาบูรณาการแพทย์แผนไทย เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุตามแนวคิดพุทธจิตวิทยา 3) เพื่อนำเสนอผลของกิจกรรมตามแนวพุทธจิตวิทยาบูรณาการแพทย์แผนไทย เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุตามแนวคิดพุทธจิตวิทยา เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุ ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ทั้งชายและหญิง ในพื้นที่เขตตลิ่งชัน จังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 60 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการสังเกตและบันทึกข้อมูลความถี่ของแบบสังเกตพฤติกรรมโดยใช้การบันทึกแบบช่วงเวลา (interval recording) และการทดสอบจากแบบวัดประเมินผลดุลยภาพองค์รวมผู้สูงอายุ วิเคราะห์โดยใช้สถิติบรรยาย เช่น ค่าเฉลี่ย ร้อยละ เป็นต้น การเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของแบบวัดประเมินผลดุลยภาพองค์รวมผู้สูงอายุ ของกลุ่มทดลอง ก่อนการทดลองและหลังการทดลองใช้การวิเคราะห์ด้วยสถิติทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระ (dependent sample t-test) ส่วนการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของแบบวัดประเมินผลดุลยภาพองค์รวมผู้สูงอายุ กลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม ใช้การวิเคราะห์ด้วยสถิติทดสอบทีแบบเป็นอิสระ (independent sample t-test) และข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ จะนำมาวิเคราะห์ประเด็น และนำเสนอในรูปแบบการบรรยาย ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการศึกษาปัญหาด้านสุขภาวะของผู้สูงอายุ สุขภาวะหรือดุลยภาพองค์รวมผู้สูงอายุ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคม และ ด้านปัญญา พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ (ก่อนเข้าร่วมกิจกรรม) มีปัญหาของสุขภาวะ (ดุลยภาพองค์รวมทุกด้าน) โดยที่ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีคะแนนเฉลี่ยดุลยภาพองค์รวมผู้สูงอายุรายด้านก่อนการทดลอง ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังละเลยการดูแลสุขภาวะของตัวเองอย่างมาก มีเพียงจำนวนน้อยเท่านั้นที่มีการดูแลสุขภาวะของตัวเองได้ดี 2) ผลการการสร้างกิจกรรมตามแนวพุทธจิตวิทยาบูรณาการแพทย์แผนไทย เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ โดยมีกิจกรรมดังนี้ ฝึกอบรมกิจกรรมการฝึกการเดินลมหายใจ, ฝึกการทรงตัว,การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ, ฝึกหายใจ, การแนะนำอาหารเป็นยาตามฤดูกาล, แนะนำการป้องกันโรคเบื้องต้น, กิจกรรมเข้าจังหวะโดยสลับหมุนลำดับกิจกรรม ให้ครบ 8 วัน เพื่อให้ผู้สูงอายุปรับสภาพสุขภาวะทุกด้านให้ดีขึ้น ทางด้านร่างกายจะช่วยให้ร่างกายของผู้สูงอายุ ฝึกความยืดหยุ่นของร่างกาย ทางด้านอารมณ์ ฝึกการควบคุมของอารมณ์ ทางด้านสังคม ฝึกการปรับตัวเข้ากับสังคม โดยการทำกิจกรรมร่วมกัน ละลายพฤติกรรม และด้านปัญญา เข้าใจเหตุผลรู้หน้าที่ต่อดุลยภาพองค์รวมของตัวเอง 3) คะแนนเฉลี่ยดุลยภาพองค์รวมของผู้สูงอายุรายด้านระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ โดยด้านกายภาพค่าเฉลี่ยของกลุ่มทดลอง 2.9600 ของกลุ่มควบคุม 2.0867 ด้านอารมณ์ค่าเฉลี่ยของกลุ่มทดลอง 3.5400 ของกลุ่มควบคุม 2.3867 ด้านสังคมค่าเฉลี่ยของกลุ่มทดลอง 3.7200 ของกลุ่มควบคุม 2.3667 และด้านปัญญาค่าเฉลี่ยของกลุ่มทดลอง 3.2267 ของกลุ่มควบคุม 2.1600

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

วิชนี คุปตะวาทิน. (2561). สังคมสูงวัยกับโลกสมัยใหม่. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีสุวรรณภูมิ, 61 (ฉบับพิเศษ), 445.

มณรัตน์ นิ่มสกุล. (2561). พุทธจิตวิทยาบูรณาการเพื่อดุลยภาพองค์รวมผู้สูงอายุด้วยกระบวนการโยคะ. (ดุษฏีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ประยงค์ ศรไชยและคณะ. (2559). ศึกษารูปแบบแนวทางการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุตามหลักพระพุทธศาสนา ในจังหวัดอุบลราชธานี (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี.