การฝึกสมาธิตามแนวสติปัฏฐาน 4 ที่มีผลต่อการควบคุมตนเอง ของผู้เข้าร่วมปฏิบัติธรรม

Main Article Content

กัญญาวีร์ ธัญญารัชตะ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการควบคุมตนเองตามแนวพุทธจิตวิทยาของผู้เข้าร่วมปฏิบัติธรรม ก่อนและหลังได้รับการฝึกสมาธิตามแนวสติปัฏฐาน 4 2) เพื่อศึกษาผลของการฝึกสมาธิตามแนวสติปัฏฐาน 4 ที่มีต่อการควบคุมตนเองตามแนวพุทธจิตวิทยาของผู้เข้าร่วมปฏิบัติธรรม การวิจัยนี้เป็นแบบกึ่งทดลอง แบบก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest - Posttest Design) โดยใช้แบบวัดการควบคุมตนเองก่อนและหลังการทดลอง เป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล จากผู้เข้าร่วมปฏิบัติธรรมโครงการพัฒนาจิตเพื่อพ่อ ครั้งที่ 112 ระหว่างวันที่ 1 - 8 ธันวาคม 2563 ณ วัดป่าเจริญราช อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี จำนวน 100 คน และนำข้อมูลที่ได้จากการวัดมาวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการควบคุมตนเองของผู้เข้าร่วมปฏิบัติธรรมหลังการทดลอง ( = 4.41 ,SD =0.32 ) มากกว่าระดับการควบคุมตนเองก่อนการทดลอง ( = 3.91 , SD =0.65 ) 2) ความวิตกกังวลก่อนและหลังของผู้เข้าร่วมปฏิบัติธรรม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 9.88)

Article Details

How to Cite
ธัญญารัชตะ ก. (2021). การฝึกสมาธิตามแนวสติปัฏฐาน 4 ที่มีผลต่อการควบคุมตนเอง ของผู้เข้าร่วมปฏิบัติธรรม. วารสารพุทธจิตวิทยา, 6(2), 97–103. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/252499
บท
บทความวิจัย

References

พุฒินาท ทรงสมบัติชัย และสุวรี ศิวะแพทย์. (2553). ผลการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแนวสติปัฏฐาน 4 ต่อความฉลาดทางอารมณ์ด้านการตระหนักรู้ตนเองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศุภวรรณ ธนุภาพรังสรรค์ และมาลีวัล เลิศสาครศิริ. (2559). ผลของการใช้รูปแบบการฝึกสมาธิโดยบูรณาการสติปัฏฐาน 4 กับเอสเคที 1 ต่อความสามารถทางสมอง ความตระหนักรู้ในตนเองและสัมฤทธิผลทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 36 (ฉบับพิเศษ), 13-28

Muraven, M.; & Baumeister., F, R. (2000). Self-regulation and Depletion of limited Resources: Does Self-Control Resemble a Muscle. Psychological Bulletin.

Muraven, M.; & Baumeister., F, R., (2000). Self-regulation and Depletion of limited Resources: Does Self-Control Resemble a Muscle. Psychological Bulletin, 126(2), 1-2.

Sagotsky, G.; Patterson, C.J.; & Lepper, M.R. (1978). Training Children's Self-Control: A Field Experimant in Self-Monitoring and Goal-Setting in the classroom. Journal of Experimental Child Psychology.

Sagotsky, G.; Patterson, C.J.; & Lepper, M.R. (1987). Training Children's Self-Control: A Field Experimant in Self-Monitoring and Goal-Setting in the classroom. Journal of Experimental Child Psychology, 25, 250.

Wilson, T. G.; & Daniel K. O. (1980). Principle of Behavior Therapy. Englewood Cliffs. New Jersy : Prentice-Hall.