การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างศรัทธาและความสุขของวัยรุ่น ตามแนวพุทธจิตวิทยา

Main Article Content

พีรญา สหรัตพณ

บทคัดย่อ

              การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความศรัทธาและความสุขของวัยรุ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความศรัทธาและความสุขของวัยรุ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความศรัทธาและความสุขของวัยรุ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล จากนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 390 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบเอฟ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน


      ผลการวิจัยพบว่า


  1. ระดับความศรัทธาของวัยรุ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีความศรัทธาในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามค่าเฉลี่ยพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูง ได้แก่ กัมมสัทธา (เชื่อว่ากรรมมีจริง) รองลงมาคือ กัมมัสสกตสัทธา (เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตัวเอง) และวิปากสัทธา (เชื่อในผลของกรรม) ซึ่งอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านที่ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านตถาคตโพธิสัทธา (เชื่อว่าการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านั้นเป็นจริง) อยู่ในระดับปานกลาง และพบว่า ระดับความสุขของวัยรุ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีความสุขในระดับปานกลาง

  2. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล (ได้แก่ เพศ อายุ เกรดเฉลี่ย รายได้ของครอบครัวโดยประมาณต่อเดือน สถานภาพของบิดามารดา) กับความศรัทธาและความสุขของวัยรุ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า 1) เพศไม่มีความสัมพันธ์กับความศรัทธาและความสุขของวัยรุ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 2) อายุมีความสัมพันธ์กับความศรัทธาและความสุขของวัยรุ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) เกรดเฉลี่ยมีความสัมพันธ์กับความศรัทธาและความสุขของวัยรุ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) รายได้ของครอบครัวไม่มีความสัมพันธ์กับความศรัทธาของวัยรุ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่มีความสัมพันธ์กับความสุขของวัยรุ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) สถานภาพของบิดามารดามีความสัมพันธ์กับความศรัทธาของวัยรุ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านความสุข พบว่า สถานภาพของบิดามารดาไม่มีความสัมพันธ์กับความสุขของวัยรุ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

  3. ความศรัทธาทุกด้าน มีความสัมพันธ์กับความสุขของวัยรุ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 


คำสำคัญ: วัยรุ่น, การศึกษาความสัมพันธ์, ศรัทธา, ความสุข

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ วังมณี. (2554). การพัฒนาความสุขของวัยรุ่นไทย โดยใช้โปรแกรมพัฒนาตนเอง. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ขวัญจิต มหากิตติคุณ และคณะ. (2559). ความสุขของนักเรียนวัยรุ่น. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 36(1), 87-97.

ณฤดี วิวัชภูรี. (2554). การศึกษาพฤติกรรมความเชื่อของชาวพุทธที่สนใจโหราศาสตร์ที่มีต่อหลักโหราศาสตร์ และหลักศรัทธา 4 (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณรราชวิทยาลัย.

ด.ส.ปฐวี. (2563). ระดับขั้นของความสุข. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2564, จาก https://buddhadhamma-memo.blog/ระดับขั้นของความสุข-แน/

นิศากร เจริญดี. (2561). การพัฒนามาตรวัดความสุขในการเรียนของนักเรียนอาชีวศึกษา (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). สาขาวิชาวิจัยวัดผลและสถิติการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ประณต เค้าฉิม. (2549). จิตวิทยาวัยรุ่น. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ผาสุก มุทธเมธา. (2535). คติชาวบ้าน กับการพัฒนาคุณภาพชีวิต (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

พรพิมล เจียมนาครินทร์. (2539). พัฒนาการวัยรุ่น. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ต้นอ้อ แกรมมี่.

พระชัยพร จนฺทวํโส (จันทวงษ์). (2554). ศึกษาศรัทธาในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามแนวสติปัฏฐาน 4 (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2554). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. นครปฐม: มูลนิธิ การศึกษาเพื่อสันติภาพ.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2552). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จันทร์เพ็ญ.

พระราชเวที (สมพงษ์ พฺรหฺมวโส). (2536). บรรณานุกรม สัททาวิสสวิคคหะ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ประดิพัทธ์.

พระอุดรคณาธิการ (ชวินทร์ สระคำ), จำลอง สารพัดนึก. (2530). พจนานุกรมบาลี-ไทย ฉบับศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). รายงานสถิติจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. 2563. พระนครศรีอยุธยา: สำนักงานสถิติจังหวัดพระนครศรีอยุธยา.

Waterman, A.S. (1993). Two Conception of Happiness : Contrasts of Personal Expressiveness (Eudemonia) and Hedonic Enjoyment. Journal of Personality and Social Psychology, 64(4), 678–691

Yuwaput. (2563). ศรัทธาตามหลักพระพุทธศาสนา.สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2564, จาก https://www.blockdit.com/ posts/5d217cd39ca9ef0fecb9529d