ผลของการฝึกศิลปะการต่อสู้ด้วยดาบสองมือต่อการมีสติของเยาวชน ค่ายยุวชนไทอชิร

Main Article Content

หนึ่งธิดา สาริศรี
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต
เมธาวี อุดมธรรมานุภาพ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ เพื่อศึกษาผลของการฝึกศิลปะการต่อสู้ด้วยดาบสองมือต่อการมีสติของเยาวชน ค่ายยุวชนไทอชิร รูปแบบงานวิจัยนี้ เป็นแบบกึ่งทดลอง แบบก่อนและหลังการทดลอง (pretest-posttest control group design) โดยแบ่งเยาวชน ค่ายยุวชนไทอชิรเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มฝึกดาบ กลุ่มฝึกเจริญสติก่อนฝึกดาบ และกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 25 คน ทั้ง 3 กลุ่มได้รับการทดสอบด้วยแบบวัดสติก่อนและหลังการทดลอง หลังจากนั้นกลุ่มทดลองจะได้รับการฝึกดาบและการฝึกเจริญสติก่อนฝึกดาบฝึกจำนวน 17 ครั้ง 9 ครั้งๆละ 2 ชั่วโมง โดยที่ 8 ครั้งแรก ฝึกอบรมต่อเนื่องทุกวัน จากนั้น ฝึกอบรมเพื่อทบทวนอาทิตย์ละ 1 ครั้ง ต่อเนื่องจนครบ 9 ครั้ง ในการวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้ใช้แบบวัดความสติ โดยเลือกใช้เฉพาะแบบวัดสติ 20 ข้อ มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟ่า ของครอนบาค .966 นำข้อมูลที่ได้จากการวัดมาวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติ การทดสอบค่าที (t-Test) ผลการวิจัยพบว่า 1. การมีสติก่อนและหลังของกลุ่มทดลอง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มากกว่า .001 (t = 4.85) 2. การมีสติของกลุ่มทดลอง หลังการทดลองมากขึ้นและมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับมากกว่า .001 (t = 3.42)

Article Details

How to Cite
สาริศรี ห., เอี่ยมสุภาษิต ส., & อุดมธรรมานุภาพ เ. (2021). ผลของการฝึกศิลปะการต่อสู้ด้วยดาบสองมือต่อการมีสติของเยาวชน ค่ายยุวชนไทอชิร. วารสารพุทธจิตวิทยา, 6(2), 75–85. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/251037
บท
บทความวิจัย

References

ทิศนา แขมมณี. (2541). การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. (กรุงเทพฯ: สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2559). พุทธธรรมฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

สัมภาษณ์. ศักย์ภูมิ จูฑะพงศ์ธรรม, ผู้ก่อตั้งกลุ่มไทอชิร, 19 ตุลาคม 2563.

สุเมธ โสฬศ. (2554). การศึกษาเครื่องมือจำแนกจริตที่เหมาะสมในการเจริญสติปัฏฐาน (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Brown, R. (2003). Measuring individual differences in the tendency to forgive: construct validity and links with depression. Personality & social psychology bulletin, 29(6), 259.

Dusek, B.J. (1987). Adolescent development and behavior. Englewood Cliffs, N.J.: Prentice-Hall.

Kabat-Zinn, J. (1994). Wherever you go, there you are: Mindfulness meditation in everyday life. New York: Hyperion

Kabat-Zinn, J. (2013). Full Catastrophe Living: Using the Wisdom of Your Body and Mind to Face Stress, Pain, and Illness. New York : Bantam Books.