การดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมแนวพุทธ: รูปแบบการเยียวยาผู้ป่วยด้วยธรรมะ ของศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิขุ ชลประทาน ร่วมกับกลุ่มพระอาสาคิลานธรรม ได้ร่วมกันกำหนดรูปแบบการเยียวยาผู้ป่วยด้วยธรรมะ ตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมแนวพุทธที่ชัดเจน เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับการเยียวยาผู้ป่วยด้วยธรรมะ ซึ่งเป็นการดูแลผู้ป่วยให้เกิดการเชื่อมโยงสมดุลของร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ โดยคำนึงถึงความแตกต่างของแต่ละบุคคลที่เป็นโรค มุ่งเน้นการดูแลในมิติของจิตวิญญาณ เพื่อให้เกิดสมดุลในมิติอื่น ๆ ที่จะช่วยให้เกิดสมดุลแบบองค์รวม โดยมีการพัฒนาอย่างเป็นระบบ
Article Details
References
จันทร์เพ็ญ สันตวาจา. (2553). แนวคิดพื้นฐาน ทฤษฎีและกระบวนการพยาบาล. (พิมพ์ครั้งที่ 6). นนทบุรี: โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก.
ประเวศ วะสี. (2544). สู่สุขภาพ 4 มิติ. ใน อภิญญา ตันทวีวงศ์. สุขภาพ ทางจิตสังคมและจิตวิญญาณ. กรุงเทพฯ: เซนจูรี่.
พระครูศรีวิรุฬหกิจ และวิชชุดา ฐิติโชติรัตนา. (2558). ภาวะจิตเมตตาของผู้ให้การปรึกษาแนวพุทธ: กรณีศึกษาพระสงฆ์กลุ่มจิตอาสาคิลานธรรม. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 1(1), 1-6.
พระเทพสุวรรณเมธี และสุพิชฌาย์ พรพิชณรงค์. (2562). พระจิตอาสาคิลานธรรม: รูปแบบและกระบวนการเยียวยาใจผู้ป่วยด้วยธรรมะ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 7(6), 1786-1796.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2557). การแพทย์แนวพุทธ. (พิมพ์ครั้งที่ 10). นครปฐม: วัดญาณเวศกวัน.
พระมหาจรรยา สุทธิญาโณ. (2543). พระพุทธศาสนากับการดูแลรักษาสุขภาพแบบองค์รวม. สงขลา: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ภุชงค์ เหล่ารุจิสวัสดิ์ และสาวิตรี เจติยานุวัตร. (2556). ความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม Distress Thermometer ฉบับภาษาไทย (ปรอทวัดทุกข์). วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 58(3), 257-270.
สุพิชฌาย์ พรพิชณรงค์ และพระมหาวิโรจน์ คุตฺตวีโร. (2561). การพัฒนาศักยภาพและกิจกรรมการเยียวยาใจผู้ป่วยด้วยธรรมะ ของกลุ่มพระจิตอาสาคิลานธรรม. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 14(3), 65-74.
American Holistic Nurses’ Association. (1994). AHNA Philosophy. Journal of Holistic Nursing,12(3), 350-351.
Bertalanffy, L. von. (1969). General System Theory. New York: George Braziller.