รูปแบบการให้คำปรึกษาครอบครัวและผู้สูงอายุ

Main Article Content

พสุ วุฒินันท์

บทคัดย่อ

          ประเด็นสำคัญของโลก สังคมของแต่ละประเทศกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีอัตราผู้สูงวัยเพิ่มขึ้นทุกปี เป็นจุดเสี่ยงมากสุดของสังคมไทย ทำอย่างไรให้ผู้สูงวัยสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข ซึ่งประเทศไทยต้องวางแผนงบประมาณการดูแลช่วยเหลือให้การสนับสนุนการดำรงชีพของกลุ่มผู้สูงวัยและยังไม่สามารถทำได้ครอบคลุมทุกประเภท สวัสดิการจากรัฐยังมีงบประมาณด้านต่าง ๆ ไม่เพียงพอ  เช่น ที่อยู่อาศัย ค่ารักษาพยาบาล เบี้ยยังชีพ การปฏิรูปบทบาทขององค์การต่าง ๆ ที่มีต่อสังคมผู้สูงวัยเป็นนัยสำคัญต่ออนาคตสังคมไทยเป็นอย่างมาก ครอบครัวเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาบทบาทของคนในครอบครัวให้เกิดความสุข การมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม หากพื้นฐานครอบครัวมีแต่ความขัดแย้งภายในครอบครัว ไม่มีการเรียนรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อนำไปสู่ความเข้าใจกันเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ก็จะนำไปสู่ปัญหาทางครอบครัวและสังคมได้ เช่น พ่อแม่ทะเลาะวิวาทกันทุกวัน ส่งผลต่อจิตใจลูก ให้เป็นคนก้าวร้าว พ่อแม่ไม่ส่งเสริมให้เรียนพัฒนาความรู้ก็จะทำให้ลูกเป็นคนเกเร ไม่รู้ผิดถูกอาจนำไปสู่ประตูที่นำมาซึ่งทุกข์ เป็นผู้ร้ายโจรหรือลักขโมยได้ การให้คำปรึกษาครอบครัวและผู้สูงวัยเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาครอบครัวและสังคมผู้สูงวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพและส่งผลการอยู่ร่วมกันได้อย่างราบรื่น บทความนี้ต้องการนำเสนอแนวทางการปรับตัวของครอบครัว เทคนิคการทำจิตบำบัด เพื่อมีสุขภาพจิตที่ดี อีกทั้งเสนอรูปแบบการให้คำปรึกษาครอบครัวและผู้สูงวัย เช่น การให้คำปรึกษาครอบครัวที่เน้นระบบครอบครัว (Family System Counseling) การให้คำปรึกษาครอบครัวเน้นโครงสร้างของครอบครัว (Structural Family Counseling) การให้คำปรึกษาเน้นพฤติกรรมและการรู้คิด (Behavior and Cognitive Family Counseling) การให้คำปรึกษาเน้นประสบการณ์นิยมและมนุษยนิยม (Experiential/Humanist Family Counseling) เพื่อให้ผู้รับคำปรึกษา ครอบครัวและผู้สูงวัยได้เลือกใช้ในการช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสมกับสภาพปัญหาของครอบครัวและผู้สูงวัย

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

พระอนุกูล ปานประเสริฐ, (2527). การสนับสนุนทางสังคมของครอบครัวในการส่งเสริมพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของเยาวชน จังหวัดกาญจนบุรี (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

เพ็ญนภา กุลนภาดล. (2560). การปรึกษาครอบครัว. พิมพ์ครั้งที่ 2. ฉะเชิงเทรา: แฮมคอมพิว ออฟเซท.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). (2559). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ทีคิว พี จํากัด.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2560). ถ้าสูงอายุเป็น ก็น่าเป็นผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.

สุมัทนา สินสวัสดิ์, (2557). ครอบครัว:การจัดการความขัดแย้งของคู่สมรสเพื่อการครองรักอย่างยั่งยืน. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 40(2),184-195.

อุมาพร ตรังคสมบัติ. (2561). จิตบำบัดและการให้คำปรึกษาครอบครัว. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.