การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจและความสุขของอาสาสมัคร:กรณีศึกษามูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ดังนี้ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมาของมูลนิธิพุทธฉือจี้ในประเทศไทย 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจและความสุขของอาสาสมัครมูลนิธิพุทธฉือจี้ในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างคืออาสาสมัครมูลนิธิพุทธฉือจี้ในประเทศไทย จำนวน 208 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย 1) ข้อมูลทั่วไปอาสาสมัครมูลนิธิพุทธฉือจี้ในประเทศไทย 2) ข้อคำถามเกี่ยวกับแรงจูงใจและความสุขของอาสาสมัครมูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันในประเทศไทย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยการแจกแจงความถี่ (Frequency Distribution) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่า (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว(One Way ANOVA) และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient)
ผลการวิจัยพบว่า
1) อาสาสมัครมูลนิธิพุทธฉื้อจี้ไต้หวันในประเทศไทย มีแรงจูงใจและความสุขในการทำงานจิตอาสาอยู่ในระดับ มาก
2) อาสาสมัครมูลนิธิพุทธฉื้อจี้ไต้หวันในประเทศไทย ที่มีเพศ ระดับการศึกษา สถานภาพทางการสมรส ภาวะสุขภาพ รายได้ต่อเดือน และจำนวน กลุ่มอายุ มีแรงจูงใจในการทำงานจิตอาสาไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) อาสาสมัครมูลนิธิพุทธฉื้อจี้ไต้หวันในประเทศไทย ที่มีอาชีพ ระยะเวลาการเป็นอาสาร และความถี่ในการทำงานเป็นจิตอาสาแตกต่างกัน มีความสุขในการทำงานจิตอาสาไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4) เพศ กลุ่มอายุ อาชีพ การศึกษา สถานภาพสมรส ความถี่การเป็นจิตอาสา ภาวะสุขภาพ รายได้ต่อเดือน และจำนวนบุตร มีความสำพันธ์เชิงบวกและเชิงลบ กับแรงจูงใจการเป็นจิตอาสาและความสุขในการเป็นจิตอาสา โดยมีขนาดความสัมพันธ์อยู่ระหว่าง -.065 จนถึง .088 แต่ไม่มีนัยสำคัญ ยกเว้นรายได้ต่อเดือน ซึ่งมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสุขในการเป็นจิตอาสาในระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญตามทางสถิติที่ระดับ .05 และแรงจูงใจการเป็นจิตอาสามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสุขในการเป็นจิตอาสาในระดับ สูง อย่างมีนัยสำคัญตามทางสถิติที่ระดับ .01
คำสำคัญ: แรงจูงใจ, ความสุข, อาสาสมัคร, มูลนิธิฉือจี้