การให้การปรึกษาคนวัยทำงานที่มีภาวะซึมเศร้า

Main Article Content

กรรณิการ์ มีสวัสดิ์

บทคัดย่อ

ความเครียดจากการทำงาน ส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ความเครียดจากการทำงานเกิดได้จากหลายสาเหตุ อาจเกิดจากได้รับมอบหมายงานที่ไม่เหมาะกับความสามารถของผู้ที่ได้รับมอบหมายงาน มีความกดดันจากงานที่ได้รับมอบหมาย ทรัพยากรไม่เพียงพอหรือไม่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงาน ปริมาณงานที่มาก การทำงานเป็นระยะเวลานานโดยไม่ได้พัก ทำงานที่ต้องใช้ทักษะในการทำงานอย่างสูง สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น นอกจากนี้ การขาดการมีส่วนร่วมของคนในองค์กร ความไม่เป็นทีมเวิร์ค ความไม่ชัดเจนของความก้าวหน้าในสายงานหรือสายอาชีพ ระเบียบการทำงานที่มีมากไป ความรับผิดชอบมากไป ความคาดหวังเกี่ยวกับงานมากไป เหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดความเครียดทั้งสิ้น


       ความเครียดสะสมจากการทำงานเป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้าของคนทำงานสังเกตได้จาก ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ไม่มีสมาธิในการทำงาน ทักษะการแก้ไขปัญหาลดลง ความรับผิดชอบลดลง ขาดงานบ่อย ทำงานเสร็จช้าลง  รู้สึกท้อแท้ นอนหลับไม่สนิท อารมณ์หงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย ดังนั้น สิ่งสำคัญที่จะช่วยลดความเครียดในการทำงาน นั่นคือ การคิดบวกต่อการทำงาน การสร้างความสุขจากงานที่ทำ ในทางพุทธศาสนาสอนว่าการทำงานอย่างมีความสุขพึงมีธรรมะดังนี้ ธรรมะสำหรับผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ อิทธิบาท 4 ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา และ ธรรมะสำหรับการทำงานร่วมกัน ได้แก่ สังคหวัตถุ 4 ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานัตตตา ธรรมะทั้งสองนี้ จะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ และเป็นเครื่องนำทางในการปฏิบัติตนในการทำงาน อันจะช่วยลดความเครียดที่เกิดจากการทำงานก่อให้เกิดความสุขในการทำงาน ส่งผลให้งานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
มีสวัสดิ์ ก. (2020). การให้การปรึกษาคนวัยทำงานที่มีภาวะซึมเศร้า. วารสารพุทธจิตวิทยา, 5(1), 62–78. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/244321
บท
บทความวิชาการ