การพัฒนาตนเองเริ่มต้นที่ความรัก

Main Article Content

จิราภรณ์ ศรไชย

บทคัดย่อ

พระพุทธเจ้าตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง ด้วยการพิจารณาหลักธรรม อริยะสัจ4 ประการ รู้ทุกข์ รู้สาเหตุแห่งทุกข์ และรู้ว่าจะดับทุกข์ให้ได้ผลอย่างไร ท้ายที่สุด วางแนวทางการดับทุกข์อย่างถาวร การยกเอาแนวทางการปฎิบัติธรรม ของพระพุทธเจ้ามาเป็นแนวทางให้เห็นว่าพระพุทธเจ้ามีความมุ่งมั่นจดจ่อ เกี่ยวกับตัวเอง รักตัวเองไม่อยากเห็นตัวเองอยู่ในสภาพที่เป็นทุกข์จึงออกแสวงหาคำตอบ ด้วยตัวเองพิจารณาธรรม ด้วยตัวเองเป็นเบื้องต้น การนำความรักตัวเองมาเป็นเครื่องชี้นำ มีวัตถุประสงคืที่ต้องการให้เกิดความสำนึกรู้ โดยยกเอาความรักมาเป็นเครื่องผูกเชื่อมต่อไปยังหลักการที่จะยกระดับตนเอง ให้ดีขึ้น ให้คิดดีขึ้น พูดดีขึ้น ทำดีขึ้น ในทางพุทธศาสนา คนธรรมดา สามารถที่จะเลื่อนชั้นเป็นพระอริยะได้ อันเกิดจากการพิจารณาตนเอง อยู่กับตนเอง อย่างผู้บริสุทธิ์ มีจิตกุศล มีความคิด แบบ สัมมาทิฐิ ไม่ยอมให้กิเลส และอกุศลธรรมมาชี้นำชีวิต ให้คิดแบบมิจฉาทิฐิ การพัฒนาตนเองเมื่อมีความรักตัวเอง เป็นที่ตั้ง จะทำให้การพัฒนาตนเองด้วยหลักวิชาการต่างๆทำได้ง่ายขึ้น เมื่อพัฒนาตนเองจนได้ผลแล้ว จะรักคนอื่นเป็น จะรักครอบครัวเป็น จะรักสังคมเป็น จะรักประเทศเป็น ในที่สุดจะดูแลโลกนี้ได้ดี สมกับคำที่ว่ารักโลก ดูแลโลก ซึ่งเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ที่มีการพัฒนาการตามลำดับ เมื่อพัฒนาตนเองด้วยความรักได้ ย่อมจะเข้าใจดีว่าจะพัฒนาคนอื่นด้วยความรักได้อย่างไร


          การพัฒนาตนเองเป็นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพส่งผลต่อบรรยากาศองค์การที่ดี  เพราะบุคลากรใน องค์การเป็นผู้สร้างสรรพสิ่งทุกอย่างจนกระทั่งกลายเป็นผลผลิต  หรือการบริการตามแต่ละประเภทขององค์การ ซึ่งนำไปสู่ความสำเร็จและการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่องค์การ ดังนั้นผู้บริหารองค์การทุกคนสมควรต้องมีความรู้และความ เข้าใจอย่างลึกซึ้ง ถึงหลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้สามารถบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างมี ประสิทธิภาพก่อให้เกิดประสิทธิผลแก่องค์การ จึงต้องมีความเข้าใจในตนเองก่อน มีความรักตัวเองให้เป็นก่อน ก่อนที่จะเข้าใจคนอื่น ก่อนที่จะรักคนอื่น ก่อนที่จะช่วยพัฒนาคนอื่นได้ต่อไป

Article Details

How to Cite
ศรไชย จ. (2020). การพัฒนาตนเองเริ่มต้นที่ความรัก. วารสารพุทธจิตวิทยา, 5(1), 29–44. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/243592
บท
บทความวิชาการ