การให้การปรึกษาคู่สมรสในครอบครัวเดี่ยว

Main Article Content

กรรณิการ์ มีสวัสดิ์

บทคัดย่อ

จุดเริ่มต้นของชีวิตครอบครัวเริ่มต้นที่คนต่างเพศสองคนตกลงใช้ชีวิตร่วมกันด้วยรัก
ความรู้สึกห่วงใยกัน อยากดูแลกันและกัน มีความสัมพันธ์ฉันท์สามี-ภรรยา และสืบทอดสายโลหิต
ด้วยการให้กำเนิดบุตร หรือหากไม่มีบุตรโดยสายโลหิต ก็อาจจะมีการรับเลี้ยงดูผู้อื่นมาเป็นบุตรบุญ
ธรรม ครอบครัวในลักษณะเช่นนี้ เรียกว่าครอบครัวเดี่ยว หรือบางครั้งเรียกว่าครอบครัวสมัยใหม่
จะประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นแกนหลักของครอบครัว คือสามี แม่ ลูก สมาชิกมีความสัมพันธ์และ
ผูกพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น มีการสืบทอดสายโลหิตเพียงทอดเดียว
จากคนต่างเพศสองคนที่มาจากพื้นฐานครอบครัว สภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมที่แตกต่าง
กันตกลงใช้ชีวิตร่วมกันจึงทำให้ต้องมีการปรับตัวเข้าหากัน ทั้งด้านการใช้ชีวิตประจำวันของแต่ละคน
ชีวิตการทำงาน การปรับตัวทางด้านอารมณ์และความคิด การมีบทบาทหน้าที่ใหม่ที่ต้องทำใน
ครอบครัวซึ่งต้องใช้เวลาและความเข้าใจในการปรับตัวของคู่สมรส บ่อยครั้งที่เราจะพบว่าคู่สมรสไม่
สามารถปรับตัวเข้าหากันได้ ดังนั้น สิ่งที่สำคัญที่จะช่วยให้คนสองคนที่มาจากต่างครอบครัว ต่างการ
เลี้ยงดูสามารถมีชีวิตคู่ที่มีความสุข หวานชื่นได้อย่างยืนยาวได้นั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งสอง
ฝ่ายที่จะเรียนรู้และปรับตัวเข้าหากัน ความเข้าใจในความต่างของแต่ละฝ่าย ในทางพระพุทธศาสนา
สอนว่า ชีวิตสมรสที่จะมีความสุข ราบรื่น มั่นคงยืนยาวได้นั้น คู่สมรสจะต้องมีธรรมที่เหมาะสมหรือ
สม่ำเสมอกัน อันจะพึงเรียกได้ว่า มีสมธรรม 4 ประการ คือ มีสมศรัทธา มีสมศีลา มีสมจาคา และมี
สมปัญญา การมีคุณธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของทั้งสองฝ่ายจะช่วยลดปัญหาการปรับตัวของคู่
สมรสในครอบครัวเดี่ยวได้ ทำให้เกิดความรัก ความเข้าใจ ซึ่งจะก่อให้เกิดเป็นครอบครัวที่แข็งแกร่ง
เกิดเป็นพื้นฐานที่แข็งแรงของสังคมต่อไป

Article Details

How to Cite
มีสวัสดิ์ ก. . (2019). การให้การปรึกษาคู่สมรสในครอบครัวเดี่ยว. วารสารพุทธจิตวิทยา, 4(2), 36–49. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/243011
บท
บทความวิชาการ