ปัจจัยทางพุทธธรรมที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของจิตใจเพื่อการฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด

Main Article Content

พระมหาพินิจ ฐิตปญฺโญ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเข้มแข็งของจิตใจตามแนวทางพุทธ
จิตวิทยาต่อการปฎิเสธสิ่งเสพติดของผู้ติดยาเสพติด และ ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความเข้มแข็งของ
จิตใจตามแนวพุทธจิตวิทยาต่อการปฎิเสธสิ่งเสพติดของผู้ติดยาเสพติด ใช้รูปแบบการวิจัยสำรวจเชิง
พรรณา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง แบบภาคตัดขวาง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีความ
เชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งชุดเท่ากับ .934 กับกลุ่มตัวย่างที่เป็นผู้ถูกควบคุมความประพฤติใน
สถานศึกษาสำนักงานคุมประพฤติกรุงเทพมหานคร 3 (ประจำศาลแขวงธนบุรี) จำนวน 299 คน
วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วย
ค่าสถิติ Pearson Chi-Square One-way ANOVA และ Regression โมเดล ที่ระดับนัยสำคัญทาง
สถิติ .05 ผลการศึกษาพบว่า
1. ผู้ถูกควบคุมความประพฤติ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 62.5 เป็นเพศชาย ร้อยละ 33.8 มีอายุ
อยู่ระหว่าง 30-39 ปี จบระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 80.6 อาชีพส่วนใหญ่รับจ้าง
หรือเป็นลูกจ้าง ร้อยละ 54.2 และไม่มีอาชีพใดๆ ร้อยละ 6.4 สำหรับรายได้ ส่วนส่วนมากอยู่
ในช่วง 9,001 – 15,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 37.8 และอีกร้อยละ 3.7 ไม่มีรายได้ สถานภาพ
โสดมากสุด ร้อยละ 49.5 รองลงมาใช้ชีวิตคู่ ร้อยละ 40.8 หย่าร้าง ร้อยละ 6.0 และเป็นหม้าย ร้อย


ละ 3.7 และส่วนใหญ่อยู่กับครอบครัว ร้อยละ 70.6 อยู่กับญาติ/มิตร ร้อยละ 15.7 และ ไม่มีที่อยู่
อาศัย ร้อยละ 2.0
2. ผู้ถูกควบคุมความประพฤติมีปัจจัยทางพุทธธรรมด้านสังคมและด้านจิตลักษณะอยู่ใน
เกณฑ์ระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 3.80 และ 3.74 ตามลำดับ
3. ผู้ถูกควบคุมความประพฤติมีระดับความเข้มแข็งของจิตใจต่อการปฎิเสธยาเสพติด
ของผู้ติดยาเสพติดอยู่ในเกณฑ์ระดับดี ด้วยค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.61 เมื่อพิจารณาแยกตามองค์ประกอบ
ความเข้มแข็งของจิตใจตามหลักพุทธธรรม คือ การพัฒนาทางจิตใจตามหลักไตรสิกขา ความมุ่งมั่น
ในการบำบัดยาเสพติดด้วยการกำกับตนเอง และ ความมีเมตตาตามหลักพรหมวิหารธรรม อยู่ใน
ระดับดี ด้วยค่าเฉลี่ย 3.76 3.50 และ 3.63 ตามลำดับ
4. ปัจจัยด้านสังคมของผู้ถูกควบคุมความประพฤติ พบว่ามีน้ำหนักอิทธิพลทางลบต่อ
ความเข้มแข็งของจิตใจของจิตใจต่อการปฎิเสธสิ่งเสพติด เท่ากับ -.13 ซึ่งถือว่ามีน้ำหนักอิทธิพลใน
ระดับต่ำ เมื่อพิจารณาน้ำหนักอิทธิพลรายตัวแปรที่ส่งผลต่อปัจจัยด้านสังคมพบว่า สมาชิกกลุ่มทาง
สังคมมีน้ำหนักอิทธิพลสูงสุด คือ .80 รองลงมาเป็นความสัมพันธ์ในครอบครัว มีน้ำหนักอิทธิพล
เท่ากับ .46 และความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนมีน้ำหนักอิทธิพล .23
5. ปัจจัยด้านจิตลักษณะของผู้ถูกควบคุมความประพฤติ พบว่ามีน้ำหนักอิทธิพทางบวก
ต่อความเข้มแข็งของจิตใจต่อการปฎิเสธสิ่งเสพติด เท่ากับ 1.02 ซึ่งถือว่ามีน้ำหนักอิทธิพลใน
ระดับสูงมาก เมื่อพิจารณาน้ำหนักอิทธิพลรายตัวแปรที่ส่งผลต่อปัจจัยด้านจิตลักษณะ พบว่า ตัว
แปรความเชื่อมั่นในตนเองและความมุ่งมั่นอนาคต มีมีน้ำหนักอิทธิพลสูงสุด คือ .79 ส่วนสุขภาพจิต
มีน้ำหนักอิทธิพล .65
6. ความเข้มแข็งของจิตใจต่อการปฎิเสธสิ่งเสพติดของผู้ถูกควบคุมความประพฤติ จาก
องค์ประกอบทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาการทางจิตใจ ด้านความมุ่งมั่นในการบำบัดยาเสพติด
และด้านความมีเมตตา พบว่าทุกตัวมีน้ำหนักอิทธิพลอยู่ในเกณฑ์ที่สูง คือ .79 .68 และ.73
ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
ฐิตปญฺโญ พ. . (2019). ปัจจัยทางพุทธธรรมที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของจิตใจเพื่อการฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด. วารสารพุทธจิตวิทยา, 4(1), 57–75. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/243000
บท
บทความวิจัย