ปัจจัยจิตสังคมที่ส่งผลต่อสุขภาวะทางจิตของพระสังฆาธิการ ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 10

Main Article Content

พระครูใบฏีกานิปุณ ญาณวีโร (นิตยพันธ์)

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่อง “ปัจจัยจิตสังคมที่ส่งผลต่อสุขภาวะทางจิต
ของพระสังฆาธิการในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 10” วัตถุประสงค์ของการศึกษาคือ 1. เพื่อ
ศึกษาระดับสุขภาวะทางจิตของพระสังฆาธิการในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 10 2. เพื่อศึกษา
ศึกษาความแตกต่างของระดับสุขภาวะทางจิตของพระสังฆาธิการจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ
3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจิตสังคมและสุขภาวะทางจิตของพระสังฆาธิการในเขตการ
ปกครองคณะสงฆ์ภาค 10 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามซึ่งประกอบไป
ด้วย ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม แบบสอบถามปัจจัยจิตสังคมและสุขภาวะทางจิตของ
ผู้สูงอายุ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ( Frequency
Distribution) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard
Deviation) การทดสอบความแตกต่างในระดับการรับรู้เกี่ยวกับสุขภาวะทางจิตของพระสังฆาธิการ
ด้วยการทดสอบที (t-test) การทดสอบความแปรปรวน (F-test) แบบ One Way ANOVA กลุ่ม


ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือกลุ่มพระสังฆาธิการในเขตการปกคครองคณะสงฆ์ภาค 10 จำนวน
380 รูป
ผลการวิจัยพบว่าระดับการรับรู้ปัจจัยจิตสังคม (ตัวแปรต้น) และสุขภาวะทางจิต (ตัวแปร
ตาม) ของพระสังฆาธิการปรากฏผลดังนี้ ในด้านการปกครองตามหลักพรหมวิหาร 4 มีค่าเฉลี่ย 3.74
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.445 รองลงมาด้านบทบาทพระสังฆาธิการ มีค่าเฉลี่ย 3.68 ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน 0.602 ถัดมาเป็นด้านแนวโน้มความรู้สึก มีค่าเฉลี่ย 3.12 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.511
ตามด้วยด้านสุขภาวะทางจิต มีค่าเฉลี่ย 3.32 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.413
ในการทดสอบสมมติฐานพบว่าพระสังฆาธิการที่มีอายุ อายุพรรษา การศึกษาฝ่าย
อาณาจักรและการดำรงตำแหน่งพระสังฆาธิการต่างกันมีสุขภาวะทางจิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ 0.05 ส่วนพระสังฆาธิการที่มีระดับศึกษาแผนกธรรม ระดับการศึกษาแผนกบาลี สมณ
ศักดิ์ ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งพระสังฆาธิการ การเป็นและไม่เป็นพระอุปัชฌาย์และการเป็นและ
ไม่เป็นโรคต่างกันไม่พบความแตกต่างของสุขภาวะทางจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจิตสังคมและสุขภาวะทางจิตพบว่าปัจจัยด้านการ
ปกครองตามหลักพรหมวิหาร 4 มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปัจจัยด้านแนวโน้มความรู้สึกในระดับปาน
กลาง และสัมพันธ์เชิงบวกกับปัจจัยด้านบทบาทพระสังฆาธิการในระดับสูง นอกจากนี้ยังสัมพันธ์เชิง
บวกกับปัจจัยด้านสุขภาวะทางจิตในระดับปางกลาง แต่ละคู่ปัจจัยในกลุ่มนี้สัมพันธ์กันอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01
ปัจจัยด้านแนวโน้มความรู้สึกสัมพันธ์เชิงบวกกับปัจจัยด้านบทบาทพระสังฆาธิการใน
ระดับปานกลาง และยังสัมพันธ์เชิงบวกกับปัจจัยด้านสุขภาวะทางจิตในระดับปานกลาง แต่ละคู่
ปัจจัยในกลุ่มนี้สัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01
ส่วนปัจจัยด้านบทบาทพระสังฆาธิการสัมพันธ์เชิงบวกกับปัจจัยด้านสุขภาวะทางจิตใน
ระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย