การใช้หลักเบญจธรรมในการดำเนินชีวิตของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล) เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พระครูปลัดเอกกวี วิสุทฺธิสีโล (แก้วเอี่ยม)

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการใช้หลักเบญจธรรมในการ
ดำเนินชีวิตของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนวัดไทร(ถาวรพรหมานุกูล) เขตจอมทอง
กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการใช้หลักเบญจธรรมในการดำเนินชีวิตของนักเรียน
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนวัดไทร(ถาวรพรหมานุกูล) เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร ที่มี
เพศ ระดับชั้นปี ที่อยู่อาศัย อาชีพของบิดาหรือมารดา และรายได้ผู้ปกครองต่อเดือนต่างกัน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ซึ่งประกอบไปด้วยข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบ
แบบสอบถาม การใช้หลักเบญจธรรมในการดำเนินชีวิตของนักเรียนระดับมัธยมตอนต้น สถิติที่ใช้ใน
การวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยการแจกแจงความถี่ (Frequency Distribution) ค่าร้อยละ
(Percentage) ค่าเฉลี่ย ( X ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบความแตกต่างในระดับการ
รับรู้ การใช้หลักเบญจธรรมในการดำเนินชีวิตของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ด้วยค่าทดสอบ
ที่ (t-test) การทดสอบค่าเอฟ (f-test) แบบ One Way ANOVA และวิเคราะห์สถิติสัมประสิทธิ์
สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient)
Buddhist Psychology Journal Vol. 4 No. 1 (January-June 2019)
2
ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ส่วนใหญ่นักเรียนศึกษาอยู่
ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 อาชีพผู้ปกครองของนักเรียน ส่วนใหญ่ มีอาชีพรับจ้าง สภาพความเป็นอยู่
ของนักเรียน นักเรียนส่วนใหญ่อาศัยอยู่กับบิดา/มารดา รายได้ของครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือน คือ
1,100 บาทขึ้นไป
การใช้หลักเบญจธรรมในการดำเนินชีวิตของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นใน
โรงเรียนวัดไทร(ถาวรพรหมานุกูล) เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับ ปานกลาง เมื่อ
พิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ กามสังวร รองลงคือ สติสัมปชัญญะ สัจจะ เมตตา
กรุณา และ สัมมาอาชีวะ
ความแตกต่างของการใช้หลักเบญจธรรมในการดำเนินชีวิต จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล
พบว่า นักเรียนที่มีเพศต่างกัน อาชีพของผู้ปกครองต่างกัน สภาพความเป็นอยู่ต่างกัน และรายได้ของ
ผู้ปกครองต่างกัน มีการใช้หลักเบญจธรรมในการดำเนินชีวิตแตกต่างกัน เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยพบว่า
ผู้ปกครองที่มีอาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ มีหลักการดำเนินชีวิตที่ดีกว่าผู้ปกครองที่มีอาชีพรับจ้าง
และนักเรียนที่รายได้ของครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือน 800 บาท มีหลักเบญจธรรมในการดำเนินชึวิตมาก
กว่านักเรียนที่รายได้ของครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือน 1,000 บาท ในขณะที่ความแตกต่างของระดับชั้น
การศึกษา ไม่ทำให้นักเรียนมีการใช้หลักเบญจธรรมในการดำเนินชีวิตแตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย