การให้คำปรึกษาผู้สูงอายุในครอบครัวแบบสังคมเมือง
Main Article Content
บทคัดย่อ
ครอบครัว เป็นหน่วยพื้นฐานทางสังคมที่เล็กที่สุดแต่มีความสำคัญต่อสังคมมากที่สุด
สมาชิกในครอบครัว อันได้แก่ ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา บิดา มารดา มีบทบาทและหน้าที่ที่ต้อง
ช่วยกันหล่อหลอม ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และถ่ายทอดวัฒนธรรมต่างๆ ของสังคมให้แก่
สมาชิกในครอบครัว เพื่อให้สมาชิกในครอบครัว ออกไปสู่สังคมอย่างมีคุณภาพที่ดี อันจะเป็นพลังที่
สำคัญต่อการขับเคลื่อน และพัฒนาสังคมและประเทศชาติ ในปัจจุบันครอบครัวไทยมีการ
เปลี่ยนแปลงลักษณะจากครอบครัวขยายมาเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ครอบครัวขยายที่มีปู่ย่าตา
ยายและเครือญาติอื่น ๆ อยู่ภายในครอบครัวมีจำนวนลดลง ในขณะที่ครอบครัวเดี่ยวที่มีพ่อ แม่ และ
ลูก มีจำนวนมากขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงลักษณะของครอบครัวดังกล่าว ส่งผลให้ผู้สูงอายุ และ
สมาชิกในครอบครัวต้องปรับตัวเข้าหากัน เพื่อเรียนรู้การดำเนินชีวิตในแต่ละช่วงวัยของสมาชิกในแต่
ละคน ปัญหาที่พบบ่อยในครอบครัวยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นครอบครัวแบบสังคมเมือง ได้แก่ ภาวะ
ซึมเศร้าในผู้สูงอายุ การไม่เข้าใจวิถีการดำเนินของผู้สูงอายุ การไม่เข้าถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพทาง
ร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ของผู้สูงอายุ ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุร่วมกัน ทั้งสาเหตุทา งด้าน
ร่างกาย จิตใจ และสภาพสังคม สิ่งแวดล้อม ที่เปลี่ยนไป ครอบครัวจึงมีความสำคัญอย่างมากสำหรับ
ผู้สูงอายุ ความอบอุ่นและการดูแลเอาใจใส่ของสมาชิกในครอบครัวเป็นสิ่งที่ผู้สูงอายุต้องการมากที่สุด
ดังนั้น ครอบครัวไม่ควรปล่อยให้ผู้สูงอายุต้องอยู่เพียงลำพัง หรืออยู่ตามลำพังกับคู่สมรส แต่สมาชิก
ในครอบครัวควรดูแลผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ สมาชิกในครอบครัวจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจ
ในการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในครอบครัวของตนอย่างแท้จริง ดังนั้น การให้คำปรึกษาผู้สูงอายุใน
ครอบครัวแบบสังคมเมือง จึงเป็นสิ่งสำคัญในการทำให้ผู้สูงอายุอยู่กับสมาชิกในครอบครัวแบบสังคม
เมืองเกิดความรู้ ความเข้าใจในการใช้ชีวิตร่วมกันอย่างมีความสุข อันจะเป็นการลดความเสี่ยงต่อการ
เกิดโรคซึมเศร้าของผู้สูงอายุ และขจัดความตึงเครียดที่เกิดจากการไม่เข้าใจในพฤติกรรมของผู้สูงอายุ
ที่อยู่ร่วมกัน อันอาจเป็นบ่อเกิดของความขัดแย้งในครอบครัวได้