การจัดการเกี่ยวกับอบายมุขในสังคมไทยปัจจุบัน : แนวคิดทางพระพุทธศาสนา เขียนโดย ชวโรฒน์ วัลยเมธี

Main Article Content

พระมหาบุญส่ง สิริภทฺโท

บทคัดย่อ

บทความที่ผู้วิจารณ์จะนำมาวิจารณ์ต่อไปนี้ มีชื่อเรียกว่า “การจัดการเกี่ยวกับอบายมุข ในสังคมไทยปัจจุบัน : แนวคิดทางพระพุทธศาสนา” (ชวโรฒน์ วัลยเมธี, 2553) เขียนโดย ชวโรฒน์ วัลยเมธี ซึ่งเป็นบทความจากโครงการวิจัย ส่วนหนึ่งในโครงการวิจัยพุทธศาสน์ศึกษาของศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2553 มีเนื้อหาทั้งหมด 51 หน้า โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 5 บท ได้แก่ บทที่ 1 หลักการและเหตุผล ว่าด้วยเรื่องของความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ และวิธีการดำเนินการวิจัย บทที่ 2 หลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการดื่มเหล้า ว่าด้วยเรื่องของกลุ่มสิกขาบทและกลุ่มหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการดื่มสุรา บทที่ 3 การจัดการเหล้าในสังคมไทย ว่าด้วยเรื่องของนิยาม ความหมายของสุรา ประวัติความเป็นมาของสุราในประเทศไทย ชนิดของสุรา และนโยบายของรัฐกับสุรา บทที่ 4 แนวทางการจัดการอบายมุขตามแนวพระพุทธศาสนา ว่าด้วยเรื่องของแนวทางด้านเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ และแนวทางตามหลักธรรมที่ ปรากฏในพระไตรปิฎก และบทที่ 5 ข้อสรุปและข้อเสนอแนะ โดยที่ผู้เขียนได้กำหนดวัตถุประสงค์ ในการทำวิจัยไว้ 2 ประเด็น คือ 1) เพื่อศึกษาปัญหาอบายมุขและการแก้ปัญหาในสังคมไทยปัจจุบัน และ 2) เพื่อเสนอความเห็นเกี่ยวกับการแก้ปัญหาที่ดำเนินอยู่และแนวทางที่ควรจะเป็นตามหลักพระพุทธศาสนา
สำหรับวิธีการในการศึกษาเพื่อตอบวัตถุประสงค์ดังกล่าวนั้น มี 2 ลักษณะ คือ 1) การศึกษาภาคเอกสาร (Documentary Research) โดยศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวกับคำสอนของพระพุทธศาสนา ทั้งเอกสารปฐมภูมิและทุติยภูมิ และ 2) ศึกษาข้อมูลจากข่าวสาร และสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องกับปัญหา และผู้ทรงคุณวุฒิทางพระพุทธศาสนา โดยกำหนดขอบเขตและสถานที่ทำการวิจัย เก็บข้อมูลในครั้งนี้ว่า จะศึกษาปัญหาอบายมุขโดยเลือกปัญหาสำคัญในปัจจุบันบางปัญหา มาเป็นตัวแทนของปัญหาอบายมุขอื่นๆ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Article Details

บท
บทวิจารณ์หนังสือ