พระพุทธศาสนาเพื่อสังคมแนวเกษตรกรรม

Main Article Content

กัณฐชา วิญญูวิริยวงศ์

บทคัดย่อ

พระพุทธเจ้าได้แสดงหลักธรรมคำสอนสอดคล้องกับบริบทของสังคมอินเดียในสมัยพุทธกาลทั้งเพื่อการพัฒนาเกษตรกรรมโดยตรง และใช้กิจกรรมทางการเกษตรเป็นข้ออุปมาตรัสสอนธรรม โดยเชื่อมโยงจากสิ่งที่เห็นได้ง่ายไปยังสิ่งที่เห็นได้ยาก ดังกสิภารทวาชสูตรที่เป็นการทำนาที่จิตใจและมีผลเป็นอมตะ ซึ่งหลักธรรมคำสอนล้วนแล้วแต่สนับสนุนโน้มนำไปสู่ที่สุดแห่งทุกข์และก้าวเข้าสู่มรรควิถีตามอริยมรรคมีองค์ 8 รวมทั้งได้แสดงธรรมประโยชน์และความสุขที่พึงแสวงหา 3 ระดับ ได้แก่ ประโยชน์ในปัจจุบัน (ทิฏฐธัมมิกัตถะ) ประโยชน์ในภายหน้า (สัมปรายิกัตถะ) และประโยชน์สูงสุด (ปรมัตถะ) ตลอดจนหลักธรรมเพื่อการปฏิบัติในชีวิตประจำวันที่เหมาะสมและเกื้อหนุนให้เกิดประโยชน์และความสุขทั้งในภพนี้และภพหน้าตามหลักธรรมพยัคฆปัชชะ กูฏทันตสูตร และจักรวรรดิวัติ 12 ซึ่งเป็นแนวทางการปฏิบัติที่ดี (Best Practices) ที่สามารถประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาการทำเกษตรกรรมระดับบุคคล ระดับชุมชน และการแก้ไขปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจสังคมระดับประเทศ

Article Details

How to Cite
วิญญูวิริยวงศ์ ก. (2016). พระพุทธศาสนาเพื่อสังคมแนวเกษตรกรรม. วารสารพุทธจิตวิทยา, 1(1), 79–94. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/242886
บท
บทความวิชาการ