การละเมิดวรรณกรรมการเทศน์ของพระสงฆ์เพื่อการเผยแผ่

Main Article Content

พระมหาณัฐพงษ์ ฐิตปญฺโญ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ 1) เพื่อศึกษาถึง การละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยการคัดลอกวรรณกรรมการเทศน์ของพระสงฆ์ตามหลักกฎหมายลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 2) เพื่อศึกษาถึง พุทธจริยศาสตร์ว่าด้วยอทินนาทานตามหลักพระพุทธศาสนา
ผลการศึกษาพบว่า 1) การละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยการคัดลอกวรรณกรรมการเทศน์ของพระสงฆ์ตามหลักกฎหมายลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 พบว่า ผู้ที่ทำการคัดลอกวรรณกรรมการเทศน์ของพระสงฆ์ ย่อมมีความผิดตามหลักกฎหมายลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ในข้อหา ละเมิดวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ด้วยการคัดลอกวรรณกรรมการเทศน์ของพระสงฆ์ ฐานนำไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพระสงฆ์ 2) พุทธจริยศาสตร์ว่าด้วยอทินนาทานตามหลักพระพุทธศาสนา พบว่า ผู้ที่ทำการคัดลอกวรรณกรรมการเทศน์ของพระสงฆ์โดยไม่ได้รับอนุญาตมีความผิดตามหลักเบญจศีล ข้ออทินนาทาน เพราะถือเอาวัตถุสิ่งของของผู้อื่นที่เขาไม่อนุญาต แต่หากมองตามหลักพุทธจริยศาสตร์แล้ว พบว่า ผู้กระทำไม่มีความผิดตามหลักเบญจศีล ข้ออทินนาทาน เพราะผู้ทำการคัดลอกวรรณกรรมการเทศน์ของพระสงฆ์มีเจตนาที่จะเผยแผ่หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าให้บุคคลอื่นได้รับฟัง รับชม อีกทั้งเป็นการส่งเสริมให้คนกระทำคุณงามความดี

Article Details

How to Cite
ฐิตปญฺโญ พ. (2016). การละเมิดวรรณกรรมการเทศน์ของพระสงฆ์เพื่อการเผยแผ่. วารสารพุทธจิตวิทยา, 1(1), 49–68. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/242884
บท
บทความวิชาการ