การดำเนินชีวิตตามหลักอิทธิบาท 4 ของประชาชนในพื้นที่ตำบลคลองน้อย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

พระจิรศักดิ์ จารุวณฺโณ (ทองประดู่)
สมเกียรติ ตันสกุล
กันตภณ หนูทองแก้ว

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิตตามหลักอิทธิบาท 4 ของประชาชนในพื้นที่ตำบลคลองน้อย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี  และ 2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินชีวิตตามหลักอิทธิบาท 4 ของประชาชนในพื้นที่ตำบลคลองน้อย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ในการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูล จากประชาชนในพื้นที่ตำบลคลองน้อย จำนวน 361 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 5 คน ผลการวิจัยพบว่า
1.การดำเนินชีวิตตามหลักอิทธิบาท 4 ของประชาชนในพื้นที่ตำบลคลองน้อย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.15, S.D. = 0.62)  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปต่ำสุด พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านฉันทะ (ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น) (gif.latex?\bar{x} = 4.21, S.D. = 0.65) รองลงมาคือ ด้านวิริยะ (ความเพียรพยายามทำในสิ่งนั้น) (gif.latex?\bar{x} = 4.19, S.D. = 0.68) และด้านจิตตะ (การเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น) (gif.latex?\bar{x} = 4.16, S.D. = 0.67) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านวิมังสา (การพิจารณาไตร่ตรองเหตุผลในสิ่งนั้น) (gif.latex?\bar{x} = 4.05, S.D. = 0.70) ตามลำดับ 2.ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินชีวิตตามหลักอิทธิบาท 4 ของประชาชนในพื้นที่ตำบลคลองน้อย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 1) ด้านฉันทะ ได้แก่ การปลูกฝังให้ประชาชนมีความรักในการงานหรือหน้าที่ของตนเอง 2) ด้านวิริยะ ได้แก่ สนับสนุนประชาชนได้ทำในสิ่งที่ตนเองรัก พอใจหรือมีความรู้สึกร่วมกับสิ่งนั้น 3) ด้านจิตตะ ได้แก่ ควรสนับสนุนให้ประชาชนตระหนักถึงหน้าที่ความรับผิดชอบของตน ประโยชน์จากงาน อาชีพ หน้าที่ ที่มีต่อตนเองและส่วนรวม และ 4) ด้านด้านวิมังสา ได้แก่ การทบทวนตนเองอยู่เสมอ ทั้งในส่วนของการทำงาน การดำเนินชีวิต

Article Details

How to Cite
[1]
จารุวณฺโณ (ทองประดู่) พ., ตันสกุล ส. . ., และ หนูทองแก้ว ก. . ., “การดำเนินชีวิตตามหลักอิทธิบาท 4 ของประชาชนในพื้นที่ตำบลคลองน้อย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี”, ้่j of human, ปี 14, ฉบับที่ 1, น. 87–107, มิ.ย. 2024.
บท
บทความวิชาการและบทความวิจัย

References

นิศารัตน์ ศิลปะเดช. (2542). ระเบียบวิจัยทางสังคมศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : สถาบันราชภัฎธนบุรี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2550). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.

บุญมี วิทยาสิทธิ์. (2560). การประยุกต์หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ปิ่นมณี ขวัญเมือง. (2557). หลักอิทธิบาท 4 : เส้นทางแห่งความสำเร็จ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, ปีที่ 13 ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม –สิงหาคม)

พระครูปลัดเฉลิมพร อภิวโร. (2564). การบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น โดยใช้หลักอิทธิบาท 4. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระชวัลวิทย อคฺคธมฺโม (เจนดลวาการ). (2563). อิทธิบาทที่ปรากฏในพระไตรปิฏก ศึกษาความสัมพันธ์ของอิทธิบาท 4 เพื่อความสำเร็จ และ วิเคราะห์ความสัมพันธของอิทธิบาทธรรม. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระรุ่งตะวัน สวโร (เกษสว่าง). (2560). การประยุกต์หลักอิทธิบาท 4 กับการบริหารงานของผู้นำชุมชนในเขตเทศบาลตำบลกุดจับ อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี. พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเจริญ บุญทศ และ ลัดดาวัลย์ คงทอง. (2562). การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการเรียนรู้รายวิชาพระพุทธศาสนาของนักเรียนโรงเรียนมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดงานกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขตกลุ่ม 3. รายงานการวิจัย. พระนครศรีอยุธยา: โรงเรียนมหาวิชราลงกรณราชวิทยาลัย.

สมพร อินทรพาเพียร. (2560). การปรับใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่. พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุรศักดิ์ อุดเมืองเพีย และ จักรี ศรีจารุเมธีญาณ. (2563). การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการดำเนินชีวิตของประชาชนบ้านสะอาด ตำบลกุดธาตุ อำเภอหนองนาคำจังหวัดขอนแก่น. รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน.

องค์การบริหารส่วนตำบลคลองน้อย. (2564). จำนวนประชากรตำบลคลองน้อยสุราษฎร์ธานี. สืบค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2564 จาก https://www.klongnoi.go.th

Taro Yamane. (1973 ). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York.Harper and Row.