แนวการพิจารณาพิพากษาคดีปกครองค่าเช่าบ้านข้าราชการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอลักษณะข้อพิพาทคดีปกครองที่เกี่ยวกับสิทธิค่าเช่าบ้านข้าราชการ โดยมีเหตุมาจากการพิจารณาออกคำสั่งทางปกครองของผู้มีอำนาจตามกฎหมายที่ออกคำสั่งโดยมิชอบ จากคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดปรากฎชัดว่าการออกคำสั่งทางปกครองของผู้มีอำนาจในการอนุมัติหรือไม่อนุมัติให้ข้าราชการที่ขอใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านมักไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากการตีความกฎหมายเพื่อปรับใช้ในแต่ละกรณีนั้นต้องคำนึงถึงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เจตนารมณ์ของกฎหมาย หลักความเสมอภาค ในการพิจารณาออกคำสั่งทางปกครองเพื่อให้ผลของกฎหมายเป็นไปตามความต้องการของผู้ออกกฎหมาย แนวคำพิพากษาคดีที่เกิดขึ้นจึงเป็นเรื่องสำคัญของผู้มีอำนาจ เป็นองค์ความรู้ที่ใช้ในการพิจารณาออกคำสั่งทางปกครองโดยไม่ทำให้กระทบสิทธิหรือความไม่เป็นธรรมแก่ผู้มีสิทธิและผู้ขอใช้สิทธิค่าเช่าบ้านข้าราชการ ขั้นตอนกระบวนการหรือข้อควรคำนึง ประการที่ 1 ตรวจสอบสิทธิค่าเช่าบ้านข้าราชการเมื่อได้รับคำของโดยพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่างท้องที่และไม่เข้าข้อยกเว้น ประการที่ 2 ตรวจสอบการขอใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านราชการ ทั้งกรณีการเช่า การกู้เงินเพื่อเช่าซื้อ ซื้อ และ ปลูกสร้างบ้าน โดยการตีความกฎหมายและปรับใช้กับข้อเท็จจริงแต่ละกรณี
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการสังคมมนุษย์
References
ตระหง่าน เกียรติศิริโรจน์. (2566). คัมภีร์คดีปกครอง. กรุงเทพฯ: พิมพ์อักษร.
ทวียศ ศรีเกต. (2558). หลักทางวิชาการเกี่ยวกับการใช้ และการตีความกฎหมาย. บทความใช้เพื่อการนำออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา รายการเจตนารมณ์กฎหมาย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร วันออกอากาศ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2538). กฎหมายมหาชน เล่ม 3 : ที่มาและนิติวิธี. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.
________. (2542). การตีความกฎหมาย : ตัวอักษรหรือเจตนารมณ์. วารสารศาลรัฐธรรมนูญ, ปีที่ 1 (เล่มที่ 2), หน้า 31-39.
ภูริชญา วัตนรุ่ง. (2567). หลักกฎหมายมหาชน. ค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 2, 2567, จาก http://old-book.ru.ac.th/e-book/l/LW101(50)/LW101-7.pdf
ฤทัย หงส์สิริ. (2564). ศาลปกครองและการดำเนินคดีในศาลปกครอง. กรุงเทพฯ: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.
วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2557) การตีความกฎหมาย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
ศาลปกครอง. (2553). แนวคำวินิจฉัยของศาลปกครอง (พ.ศ. 2544 – 2552). กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลปกครอง.
________. (2554). แนวคำวินิจฉัยของศาลปกครองเล่ม 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลปกครอง.
________. (2555). แนวคำวินิจฉัยของศาลปกครองเล่ม 3. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลปกครอง.
________. (2556). แนวคำวินิจฉัยของศาลปกครองเล่ม 4. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลปกครอง.
________. (2559). แนวคำวินิจฉัยของศาลปกครองเล่ม 5. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลปกครอง.
________. (2560). แนวคำวินิจฉัยของศาลปกครองเล่ม 6. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลปกครอง.
________. (2561). แนวคำวินิจฉัยของศาลปกครองเล่ม 7. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลปกครอง.
________. (2562). แนวคำวินิจฉัยของศาลปกครองเล่ม 8. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลปกครอง.
________. (2563). แนวคำวินิจฉัยของศาลปกครองเล่ม 9. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลปกครอง.
________. (2564). แนวคำวินิจฉัยของศาลปกครองเล่ม 10. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลปกครอง.
________. (2565). แนวคำวินิจฉัยของศาลปกครองเล่ม 11. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลปกครอง.
________. (2566). แนวคำวินิจฉัยของศาลปกครองเล่ม 12. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลปกครอง.
สมยศ เชื้อไทย. (2560). แนวคิดและหลักการตีความกฎหมาย. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
สุพจน์ กู้มานะชัย. (2558). หลักการตีความทางกฎหมายไทย. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.
หยุด แสงอุทัย. (2565). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 22. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.