การจัดการด้านสาธารณูปการของพระสังฆาธิการในเขตอำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

พระศราวุฒิ พันธ์คำ (พุทธฺสิริ)

บทคัดย่อ

สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการด้านสาธารณูปการของพระสังฆาธิการในเขตอำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ 2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการจัดการด้านสาธารณูปการของพระสังฆาธิการในเขตอำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พระภิกษุในเขตอำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 150 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการด้านสาธารณูปการของพระสังฆาธิการในเขตอำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.06 S.D = 0.54 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการพัฒนาวัด มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.13 S.D = 0.58 รองลงมาคือ ด้านการดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.08 S.D = 0.69 และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการก่อสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.97 S.D = 0.64 ตามลำดับ 2) ข้อเสนอแนะการจัดการด้านสาธารณูปการของพระสังฆาธิการในเขตอำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า ด้านการก่อสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัด ส่วนใหญ่ต้องการให้ตั้งคณะกรรมการ มาควบคุมดูแลการก่อสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัด มีประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผนและติดป้ายประกาศเชิญชวนชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการก่อสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัด ด้านการพัฒนาวัด ส่วนใหญ่ต้องการให้จัดพื้นที่ภายในวัดให้เป็นระเบียบเรียบร้อยดีงาม สะอาด ร่มรื่น ด้านการดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัด ต้องการให้การจัดทำวาระการรักษาความสะอาดเสนาสนะภายในวัดยังไม่เหมาะสม และด้านการมีส่วนร่วม ต้องการให้พระภิกษุ สามเณรของวัดจะต้องเป็นผู้นำของชุมชนทุกด้าน เป็นที่พึ่งของประชาชน อยู่ดีกินดี มีความสงบสุขได้

Article Details

How to Cite
[1]
พันธ์คำ (พุทธฺสิริ) พ., “การจัดการด้านสาธารณูปการของพระสังฆาธิการในเขตอำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี”, ้่j of human, ปี 13, ฉบับที่ 2, น. 82–98, ธ.ค. 2023.
บท
บทความวิชาการและบทความวิจัย

References

ใจ บุญชัยมิ่ง. (2560). การศึกษากลยุทธ์การพัฒนาวัดการจัดการสาธารณูปการในจังหวัดพะเยา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, วิทยาเขตพะเยา.

พระณัฐวุฒิ ธมฺมวีโร (แดงรอด). (2561). ความคิดเห็นของพระสงฆ์ด้านภาวะผู้นำที่มีต่อพระสังฆาธิการ ในอำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, (2), 51-52. วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพงศานนท์ สุทฺธจิตฺโต (กมลศุภไพโรจน์). (2561). แนวทางการพัฒนาการบริหารด้านสาธารณูปการของพระสังฆาธิการในอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย. ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาธัมมจารี ปุญฺญธมฺโม (จารินทร์). (2561). ศึกษาวิเคราะห์การบริหารงานคณะสงฆ์ด้านสาธารณูปการของพระเทพปริยัติ (สอาด ขนฺติโก). ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาอนุศักดิ์ จันทราลักษณ์. (2551). ปัญหาและแนวทางแกปัญหาการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาสในจังหวัดมหาสารคาม. สาขาการศึกษานอกระบบ, ปริญญาศึกษา มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พระสมุห์กาพร สุชาโต (พิเชฐสกุล). (2554). บทบาทของพระสังฆาธิการในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ในอำเภอทองผาภูมิจังหวัดกาญจนบุรี. ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอกนิษฐ์ สิริปญฺโ (อาจวิชัย). (2560). การบริหารจัดการด้านสาธารณูปการของพระสังฆาธิการในอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.