สภาพปัญหาและความต้องการของการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานธุรกิจขนาดย่อมในจังหวัดเชียงรายเพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

Main Article Content

วิสิษฐ์ คำดี
วิกรม บุญนุ่น
นาวิน พรมใจสา
เบญจมาศ เมืองเกษม

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มุ่งศึกษา สภาพปัญหาและความต้องการของการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานธุรกิจขนาดย่อมในจังหวัดเชียงรายเพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน โดยวิธีการเชิงระบบของยุทธศาสตร์การพัฒนาซึ่งได้แก่ การวิเคราะห์สภาพปัญหา(ปัญหาทุกข์ร้อน ปัญหาสืบเนื่อง ปัญหาเป้า) จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,022 ราย ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจากวิธีการกำหนดขนาดของยามาเน่จำนวน 305 ราย ผลการวิจัยพบว่าศักยภาพเบื้องต้นของแรงงานธุรกิจขนาดย่อม การมีคุณธรรมและจริยธรรม และ การมีมนุษยสัมพันธ์ มีคะแนนอยู่ในระดับมากที่สุด  (ค่าเฉลี่ย = 5.00 และ 4.61) การสื่อสารและให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ (ค่าเฉลี่ย = 4.33) การแก้ไขปัญหาฉพาะหน้า (ค่าเฉลี่ย = 3.97) ทักษะฝีมือ หรือความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ (ค่าเฉลี่ย = 4.48) และ ความสนใจในการแสวงหาความรู้ใหม่ (ค่าเฉลี่ย = 4.10) และความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่มีความสำคัญในการพัฒนาทักษะอาชีพ กลุ่มตัวอย่าง ให้ความสำคัญกับประเด็นต่างๆตามลำดับดังนี้ ด้านเนื้อหาสาระภาคทฤษฎีเกี่ยวกับสาขาวิชาชีพ มีความสำคัญมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย =4.35) และรองลงมาคือ เทคนิคการประยุกต์ทฤษฎีกับการปฏิบัติที่สอดคล้องกับวิชาชีพ (ค่าเฉลี่ย =4.34) มีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และมีค่าความเชื่อมัน (Cronbach’s Alpha) = .984 และสภาพปัจจุบันในการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานธุรกิจขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดเชียงราย เพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง นั้น กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นที่อยู่ในระดับมากที่สุด ประกอบไปด้วย การมีความรู้ในวิชาชีพของตนเอง (ค่าเฉลี่ย =4.86) การมีบุคลากรที่มีความรู้ในวิชาชีพเพียงพอ (ค่าเฉลี่ย =4.82) และ การมีความพร้อมในการถ่ายทอดความรู้ในวิชาชีพของตนเอง (ค่าเฉลี่ย =4.70)


          สำหรับความต้องการในอนาคตในการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานธุรกิจขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดเชียงราย เพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง นั้น กลุ่มตัวอย่างที่มีความคิดเห็นที่อยู่ในระดับมากที่สุด ประกอบไปด้วย การได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาทักษะวิชาชีพจากภาครัฐหรือเอกชน ค่าเฉลี่ย (ค่าเฉลี่ย =4.58) การมีวัสดุ อุปกรณ์ในการพัฒนาทักษะอาชีพอย่างเพียงพอ (ค่าเฉลี่ย =4.55) การมีวัสดุ อุปกรณ์ในการพัฒนาทักษะอาชีพที่ใช้งานได้ปกติ (ค่าเฉลี่ย =4.56) การได้รับการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการพัฒนาทักษะวิชาชีพจากภาครัฐหรือเอกชน (ค่าเฉลี่ย =4.57) การมีรายได้เพียงพอต่อจากการประกอบอาชีพ ค่าเฉลี่ย 4.51 และการมีช่องทางในการขยายกลุ่มลูกค้า (ค่าเฉลี่ย =4.55)

Article Details

How to Cite
[1]
คำดี ว. ., บุญนุ่น ว. ., พรมใจสา น. ., และ เมืองเกษม เ. ., “สภาพปัญหาและความต้องการของการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานธุรกิจขนาดย่อมในจังหวัดเชียงรายเพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง”, ้่j of human, ปี 14, ฉบับที่ 2, น. 116–134, ธ.ค. 2024.
บท
บทความวิชาการและบทความวิจัย

References

จิราภรณ์ พรหมเทพ. (2558). ความคาดหวังของผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงต่อคุณลักษณะของแรงงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง. SNRU Journal of Science and Technology 7(2) July – December (2015) 40-48.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น.ฉบับปรับปรุงใหม่.กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ปิยบุตร ชลวิจารณ์. (2562). “แรงงานไทย” ในศตวรรษที่ 21: เรื่องเล่าขานของประเทศไทย. Forbesthailand.com.ออนไลน์. https://dlink.me/5cLaf.เข้าถึงเมื่อ 5 กุมภาพันธ์.2564.

ปรีชา อุปโยคิน และคณะ. (2558). การศึกษาความต้องการแรงงานและพัฒนาฝีมือแรงงาน ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง. MFU CONNEXION, 4(2) || page 43-64 .ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (กรกฏาคม – ธันวาคม 2558)

ศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี. (2557). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สริญญา ลัทธิ์ถีระสุวรรณ. (2563). ปัจจัยสมรรถนะของผู้ประกอบการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยที่มีผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันการค้ากับประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ. ปีที่ 9 เล่มที่1 ประจำเดือน มกราคม – มิถุนายน 2563.หน้าที่ 174-195.

สำนักงานสถิติจังหวัดเชียงราย. (2564). ข้อมูลสถิติจำแนกตามสาขา. ออนไลน์.http://chiangrai.old.nso.go.th/nso/project/search_option/index.jsp?province_id=47. เข้าถึงเมื่อ 24 เมษายน 2564.

สำนักมาตรฐานการศึกษา. (2545). ชุดวิชาการวิจัยชุมชน.ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง.สำนักมาตรฐานการศึกษา สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานมาตรฐานอุดมศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย.นนทบุรี.เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.

เสาวณี จันทะพงษ์และทศพล ต้องทุ้ย. (2563). เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทยหลังโควิด 19:โรคปฏิวัติโลก ยกเครื่องสู่อนาคตวิถีใหม่.BOT พระสยาม MAGAZINE ฉบับที่ 3 เดือนพฤษภาคม – มิถุนายน 2563.หน้าที่ 4-7.

อรวรรณ หอยจันทร์. (2562). สถานการณ์ช่วงชิงแรงงานทั่วโลกรุนแรง ไทยยังติดหล่มพัฒนา“แรงงานทักษะสูง”. Forbesthailand.com.ออนไลน์. https://dlink.me/gDrXa . เข้าถึงเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2564.

อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2551). กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร.เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

Anastasia Belyh. (2020). What is Career Development? This is How to Progress in YourJob.CLEVERISM Online. https://www.cleverism.com/what-is-career-development/.accessed on June 8, 2021.

BANGKOK INSIGHT. (2563). จำเป็นต้องรู้ “ถูกเลิกจ้างกะทันหันในช่วงวิกฤติโควิด-19 ค่าชดเชยที่ควรได้รับคือ?.ออนไลน์. https://dlink.me/A5uBO.เข้าถึงเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2564.

Radhika Kapur. (2018). Career Development.Online. https://www.researchgate.net/publication/323808313_Career_Development. accessed on June 8, 2021.

Sung, Y., Turner, S. L., & Kaewchinda, M. (2013). Career development skills, outcomes, and hope among college students. Journal of career Development, 40(2), 127-145.

Walz, G. R. (1982). Career Development in Organizations. THE EDUCATIONAL RESOURCES INFORMATION CENTER (ERIC). The University of MichiganAnn Arbor, Michigan.