การศึกษาตำนาน เรื่องเล่า ภูมิปัญญา ผลิตภัณฑ์และการแสดงหนังตะลุงยุคดั้งเดิม และยุคร่วมสมัยสู่การสร้างแผนที่หนังตะลุงของจังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

วาที ทรัพย์สิน
ขวัญตา หนูปล้อง
ลัญจกร นิลกาญจน์
ใหม่ บัวบาล

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี่มีวัตถุประสงค์ (1)เพื่อศึกษาตำนาน เรื่องเล่า ภูมิปัญญาหนังตะลุงยุคดั้งเดิมและยุคร่วมสมัยของจังหวัดนครศรีธรรมราช (2)เพื่อศึกษาผลิตภัณฑ์และการแสดงหนังตะลุง
ยุคดั้งเดิมและยุคร่วมสมัยหนังตะลุงของจังหวัดนครศรีธรรมราช (3)เพื่อสร้างแผนที่วัฒนธรรมหนังตะลุงยุคดั้งเดิมและยุคร่วมสมัยของจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการเก็บข้อมูลเชิงลึกด้วยการวิเคราะห์เอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง จากผู้ให้ข้อมูลหลัก คือนายหนังตะลุงยุคดั้งเดิมและยุคร่วมสมัยในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 32 คน ตัวแทนเครือข่ายสถานประกอบการหรือวิสาหกิจชุมชน จำนวน 5 สถานประกอบการจำนวน 5 คน ปราชญ์ชุมชนที่มีองค์ความรู้เกี่ยวกับหนังตะลุงยุคดั้งเดิมและยุคร่วมสมัยในจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 2 คน และตัวแทนกลุ่มโอท็อป ซึ่งเป็นสถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์หนังตะลุงในจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 3 คน


          ผลการวิจัยพบว่า 1)ตำนาน เรื่องเล่า หนังตะลุงยุคดั้งเดิมและยุคร่วมสมัยของจังหวัดนครศรีธรรมราช สรุปได้ 4 กระแส คือ กระแสที่ 1 ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย กระแสที่ 2 ได้รับอิทธิพลมาจากชวา กระแสที่ 3 สันนิษฐานว่า หนังตะลุงรับอิทธิพลมาจากหนังใหญ่ซึ่งเล่นกันอยู่ก่อนในสมัยอยุธยา และกระแสที่ 4 สันนิษฐานว่าหนังตะลุงเกิดขึ้นที่จังหวัดพัทลุง ภูมิปัญญาหนังตะลุงมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยในบางขั้นตอน แต่ยังคงมีความละเอียดและละเมียดละไมในการสร้างสรรค์งานในทุกกระบวนการ โดยเชื่อมโยงกับความเชื่อที่พึงปฏิบัติและห้ามปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่นายหนัง คณะหนัง และการแสดงหนังตะลุง ซึ่งความเชื่อต่าง ๆ เหล่านี้ มีหลากหลายทั้งที่เกี่ยวกับวิญญาณ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เคล็ด และโชคลาง เป็นต้น 2)ผลิตภัณฑ์หนังตะลุงยุคดั้งเดิมมีกระบวนการผลิตหนังตะลุงเริ่มต้นจากการเตรียมหนัง การร่างภาพบนหนัง การแกะหนัง การลงสีและเคลือบเงา สู่การประกอบตัวหนังและการเข้าตับรูปหนัง สามารถจำแนกรูปแบบลักษณะและการใช้งานผลิตภัณฑ์หนังตะลุงที่มาจากการสืบทอดภูมิปัญญา การคิดค้นการใช้วัสดุ เทคนิค และขั้นตอนในการผลิต ซึ่งได้ผลิตภัณฑ์ จำนวน 1 รูปแบบ คือ รูปหนังเชิด ส่วนกระบวนการผลิตหนังตะลุงยุคร่วมสมัยมีกระบวนการผลิตหนังตะลุงที่ทันสมัยมากขึ้นโดยเพิ่มกระบวนการแปรรูปหนัง เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆ จำนวน 3 รูปแบบ คือ แบบที่ 1 รูปหนังเชิด แบบที่ 2 เป็นสิ่งที่ใช้ระลึก และแบบที่ 3 ผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบ้าน ส่วนการแสดงหนังตะลุงยุคดั้งเดิมมีรูปแบบการแสดงการแสดงหลักโดยเน้นเล่นหนังตะลุงผสมผสานกับบทเจรจาอย่างเดียว ใช้ภาษาท้องถิ่น (ภาษาใต้)  ไม่มีรูปแบบการแสดงเสริม จึงมีนายหนังตะลุงยุคดั้งเดิม จำนวน 4 คน และการแสดงหนังตะลุงยุคร่วมสมัย มีรูปแบบการแสดงการแสดงหลักเล่นหนังตะลุงผสมผสานกับบทเจรจาตามสถานการณ์ปัจจุบัน ใช้ภาษาท้องถิ่น (ภาษาใต้)ผสมผสานกับภาษากลาง (เป็นภาษาราชการ) มีรูปแบบการแสดงเสริม เช่น การร้องเพลง การทอล์คโชว์ และการแสดงคอนเสิร์ต จึงมีนายหนังตะลุงยุคร่วมสมัย จำนวน 28 คน และ 3) แผนที่วัฒนธรรมหนังตะลุงยุคดั้งเดิมและยุคร่วมสมัยของจังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบด้วยนายหนังตะลุงยุคดั้งเดิม จำนวน 4 คน นายหนังตะลุงยุคร่วมสมัย จำนวน 28 คน และสถานประกอบการผลิตภัณฑ์หนังตะลุงจำนวน 5 สถานประกอบการ เป็นเครื่องมือรูปแบบหนึ่งในการสืบสาน ฟื้นฟู ต่อยอด ศิลปะและวัฒนธรรม ส่งเสริมผู้ประกอบการวัฒนธรรม และเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการทางวัฒนธรรมหนังตะลุง สู่การยกระดับเศรษฐกิจชุมชนและสำนักรักท้องถิ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราช

Article Details

How to Cite
[1]
ทรัพย์สิน ว. . ., หนูปล้อง ข. . ., นิลกาญจน์ ล. ., และ บัวบาล ใ., “การศึกษาตำนาน เรื่องเล่า ภูมิปัญญา ผลิตภัณฑ์และการแสดงหนังตะลุงยุคดั้งเดิม และยุคร่วมสมัยสู่การสร้างแผนที่หนังตะลุงของจังหวัดนครศรีธรรมราช”, ้่j of human, ปี 13, ฉบับที่ 1, น. 114–130, มิ.ย. 2023.
บท
บทความวิชาการและบทความวิจัย

References

ชวน เพชรแก้ว. (2546). หนังตะลุงในประเทศไทย. สุราษฎร์ธานี: สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 23.

บัญชา อาษากิจ. (2550). ดนตรีประกอบการแสดงหนังตะลุง : คณะสุชาติทรัพย์สิน

ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 33-36.

ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2560). มโนทัศน์วัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 29.

ภาสวรรธน์ วัชรดำรงค์ศักดิ์ และคณะ. (2561). โครงการพัฒนาเชิงพื้นที่ผ่านทรัพยากรทางศิลปะและวัฒนธรรมเมืองแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

เรวัต สุขสิกาญจน์ และคณะ. (2554, กรกฎาคม-ธันวาคม). การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมหนังตะลุง โดยใช้วิธีการวิจัยปฏิบัติการ แบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษาชุมชนสร้างสรรค์หัตถกรรมภาพแกะหนังตะลุง ตำบลปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 31(2). 69-82.

วรรณา ปูเป็ง. (2546). ศึกษาวิถีชีวิตชาวนครศรีธรรมราชจากบทหนังตะลุง. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง). 2.

ศิราพร ณ ถลาง. (2559). คติชนสร้างสรรค์ : บทสังเคราะห์และทฤษฎี. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). 15.

สุพัตรา คงขำ. (2556). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้านหนังตะลุงเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมท้องถิ่น. (ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร). หน้า 74.

อัศวิน ศิลปะเมธากุล. (2552, มกราคม-เมษายน). ศึกษาการเล่นหนังตะลุงในภาคใต้เพื่อการพัฒนาการละเล่นร่วมสมัย. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,

(1). 27-42.