วิถีพฤติกรรมความเชื่อของชุมชนนาบอน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องวิถีพฤติกรรมความเชื่อของชุมชนนาบอน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพบริบทและวิถีชุมชนนาบอน ศึกษาพฤติกรรมความเชื่อของชุมชนนาบอน และเพื่ออนุรักษ์และสืบทอดความเชื่อของชุมชนนาบอน ด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผู้วิจัยได้ข้อมูลจาก แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การสัมภาษณ์ การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การสนทนากลุ่ม (Focus Group) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุ 20-60 ปีขึ้นไป เป็นผู้รู้ ผู้ปฏิบัติเกี่ยวกับพิธีกรรม ความเชื่อในพื้นที่ชุมชนนาบอน ซึ่งผู้วิจัยเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติข้างต้นเป็นจำนวน 21 คน
ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนชาวจีนนาบอนยังคงดำเนินชีวิตให้ความสำคัญกับความเชื่อ ประเพณี ความเป็นเอกลักษณ์อย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง โดยแสดงออกผ่านพฤติกรรมด้วยปฏิสัมพันธ์ (Socialization) ที่แสดงให้เห็นถึงความเคารพและยึดมั่นในหลักคําสอนและความเชื่อต่างๆ ที่ได้ยึดถือแบบแผนปฏิบัติสืบทอดกันมา ทำให้ลูกหลานได้รับการซึมซับจากบรรพบุรุษของตน ที่ยึดถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ การบูชาเจ้าที่และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำบ้าน และการบูชาบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ
ส่วนการอนุรักษ์และสืบทอดความเชื่อของชุมชนชาวจีนนาบอน พบว่า การจัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างคนรุ่นใหม่และคนรุ่นเก่า รวมทั้งการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านข้อมูล รูปภาพที่เกี่ยวกับประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อ ให้กับคนในชุมชนหรือบุคคลที่สนใจ อันจะส่งผลให้เกิดการเรียนรู้และการสืบสานวัฒนธรรม สืบทอดเกิดความต่อเนื่องและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการสังคมมนุษย์
References
กุณฑลีย์ ไวทยะวณิช. (2554). วัฒนธรรมความเชื่อที่เกื้อหนุนการท่องเที่ยวของจังหวัดสงขลา. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ฉัตรทิพย์ นาภสุภา. (2540). ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมชุมชนและชนชาติไท. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชาย โพธิสิตา. (2550). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้ง.
ชื่น ศรีสวัสดิ์ และเกริกไกร แก้วล้วน. (2550). การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: กรณีศึกษาวัฒนธรรมชุมชนของ ชาวกวยในเขตอีสานใต้และลาวใต้. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
ชลอ บุญช่วย. (2530). ความเชื่อที่ปรากฏในพิธีกรรมของชาวไทยเชื้อสายจีนอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา.
ธวัชชัย ท้องสมุทร์. (2558). วิถีชีวิตชาวใต้. ศิลปนิพนธ์ ศษ.บ. (สาขาวิชาศิลปศึกษา). ปัตตานี : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ปรีชา สามัคคี และปัญญา เลิศไกร. (2557). การสังเกต 360 องศาเพื่อการวิจัยและพัฒนา. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน นครศรีธรรมราช : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, น.58-66.
ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ. (2546). กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. โครงการเสริมสร้างความรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.). กรุงเทพฯ.
ปิยชาติ สึงตีและสิรีธร ถาวรวงศา. (2553). ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของกลุ่มชาวจีนฮกจิวในภาคใต้ของประเทศไทย : กรณีศึกษาชุมชนชาวจีนฮกจิวอำเภอนาบอนจังหวัดนครศรีธรรมราช. สำนักงานคณะกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม.
ปฐม หงส์สุวรรณ. (2556). นานมาแล้ว มีเรื่องเล่า นิทาน ตำนาน ชีวิต. กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พัชรี ทองเรือง. (2561). การจัดการเรียนรู้ชุมชน. วารสารวิชาการสังคมมนุษย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2561.
พวงเพชร สุรัตนกวีกุล. (2544). มนุษยกับสังคม. (พิมพครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ลัญจกร นิลกาญจน์. (2561). วัฒนธรรมความเชื่อกับการจัดการศรัทธาของชุมชน. วารสารนาค บุตรปริทัศน์ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2561
วรรณพร อนันตวงศ์, เก็ตถวา บุญปราการ, และปัญญา เทพสิงห์. (2561). วิถีชีวิตและอัตลักษณ์ของชุมชนคีรีวง. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9
สุพัตรา สุภาพ. (2543). สังคมและวัฒนธรรมไทย :ค่านิยม : ครอบครัว : ศาสนา : ประเพณี. (พิมพ์ครั้งที่11). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
เสริมศักดิ์ ขุนพล. (2557). การศึกษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ความเชื่อของชุมชนเกาะยอ. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ. ปีที่ 28 ฉบับที่ 3 (ฉบับพิเศษ)
สมปราชญ์ อัมมะพันธ์. (2536). ประเพณีและพิธีกรรมในวรรณคดีไทย. กรุงเทพมหานคร:
อาหมัดอัลซารีย์ มูเก็ม. (2559). ประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อ ที่มีความสัมพันธ์ต่อวิถีชีวิต ของชนกลุ่มชาติพันธุ์เขมรบน พื้นที่บ้านจารย์ อําเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์. ประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาบัณฑิตอาสาสมัคร วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Bat en, T. R. (1959). Community and their development. London: Oxford University Press.
Chris Barker. (2012). Cultrual Studies. California: SAGE publication Inc.
Gillian Symon and Catherine Cassell (2012). Qualitative Organizational Research Core Methods and Current Challenges. California: Sage Publications Inc
Punya Lertgrai, Lunjakon Nillakan, Nilrat Navakijpaitoon and Kittaporn Sae-Ngae Sai-Jun. (2020). WISDOM MANAGEMENT OF POLYCULTURE IN HOUSEHOLDS AT BAN NA NGAE, NA RENG SUB-DISTRICT, NOPPHITAM DISTRICT, NAKHON SI THAMMARAT PROVINCE. Hamdard Islamicus,Vol. 43 (2). 947-959. Website: https://hamdardfoundation.org/hamdard Islamicus/ (scopus)