วัฒนธรรมทางการเมืองของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (สาขาสื่อสารการเมือง) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

Main Article Content

วายุภักษ์ ทาบุญมา
สุภากาญจน์ ชัยฤกษ์

บทคัดย่อ

          วัฒนธรรมทางการเมืองของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (สาขาสื่อสารการเมือง) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช” มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความหมายและลักษณะสำคัญของวัฒนธรรมทางการเมือง อันเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของสังคมการเมืองกับสังคมการเมืองในเชิงอุดมคติ โดยวัฒนธรรมทางการเมืองใดที่สังคมการเมืองต้องการก็มักถูกปลูกฝังให้เป็นความคิด, อุดมการณ์, ความเชื่อ, ค่านิยม, การปลูกฝัง ,กระบวนการกล่อมเกลา,พฤติกรรมทางการเมือง ฯลฯ ของสมาชิกในสังคมการเมืองนั้นๆ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการเมืองการปกครองของแต่ละประเทศ ที่มีลักษณะแตกต่างกัน ไม่ว่าประเทศนั้นจะมีระบบการปกครองแบบใดต่างต้องการความมั่นคง เมื่อประเทศมีความมั่นคงก็ย่อมส่งผลดีในทุกด้าน ความมั่นคงนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการเมืองการปกครองที่มีศักยภาพและเสถียรภาพและมีลักษณะของการพัฒนาเมืองอย่างค่อยเป็นค่อยไป ความมั่นคงต้องความสัมพันธ์กับโครงสร้างอำนาจรัฐ ซึ่งแต่ละรัฐอาจมีความแตกต่างกัน จึงไม่อาจลอกเลียนรูปแบบของประเทศที่ต้องการได้ ทั้งนี้ในบริบทสังคมไทย ด้วยสภาพเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองไทย มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกช่วงเวลา เช่น ปี 2551 กรณีกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนครศรีธรรมราช ซึ่งได้มีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เข้ามารวมตัวก่อนเคลื่อนขบวนจากศาลาประดู่หก มุ่งหน้าไปตามถนนราชดำเนิน ก่อนที่จะไปปิดถนนราชดำเนินช่วงหน้าศาลากลางจังหวัดอย่างสิ้นเชิงทำให้การจราจรสายหลักที่ผ่านตัวเมืองนครศรีธรรมราช ไม่สามารถใช้การได้โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรและสายตรวจคอยอำนวยความสะดวกและรักษาความปลอดภัย ขณะที่ภายในศาลากลางนั้นข้าราชการหลายคนต่างออกมาโบกไม้โบกมือให้กำลังใจ และมี อส.มารักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดด้วย ดังนั้น วัฒนธรรมทางการเมืองที่ได้อธิบายในเนื้อหาของบทความ จึงเป็นทางเลือกในการกำหนดกรอบในการศึกษาปรับปรุงแก้ไขแนวคิดและพัฒนาแนวคิดตามอุดมการณ์ประชาธิปไตยในสังคมไทยที่พัฒนาทั้งทางด้านการศึกษา เศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ที่นับว่ามีแนวโน้นที่เจริญยิ่งขึ้นไป

Article Details

How to Cite
[1]
ทาบุญมา ว. และ ชัยฤกษ์ ส., “วัฒนธรรมทางการเมืองของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (สาขาสื่อสารการเมือง) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช”, ้่j of human, ปี 13, ฉบับที่ 1, น. 49–64, มิ.ย. 2023.
บท
บทความวิชาการและบทความวิจัย

References

โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. (2564). What is Generation Y. มติชนออนไลน์.

ค้นเมื่อ 24 กันยายน , 2565 จาก: https://www.matichon.co.th/columnists/news_3011543.

ชำนาญ จันทร์เรือง. (2559). วัฒนธรรมทางการเมืองของไทย. ค้นเมื่อ กันยายน 24 , 2565 จาก : www.bangkokbiznews.com/blog/detail/637713.

ฌานิทธิ์ สันตะพันธุ์. (2549). วัฒนธรรมทางการเมืองของไทย : รัฐธรรมนูญที่แท้จริง ซึ่งไม่เคยถูกยกเลิก.ค้นเมื่อ กันยายน 24, 2565. จาก :

http://public-law.net/publaw/view.aspx?id=1014.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2554). วัฒนธรรมทางการเมืองไทย. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและ ศิลปะ

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 (24) มกราคม - มิถุนายน 2554. น.49.

ประสาร ทองภักดี. (2555). กฎหมายปกครอง. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจ บัณฑิตย์.

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554.

พรอัมรินทร์ พรหมเกิด. (2557). บทความวิชาการวัฒนธรรมทางการเมืองกับการพัฒนาประชาธิปไตยในเขตชนบทอีสาน : กรณีศึกษาประชาชนในเขตหมู่บ้านคำบง และหมู่บ้านสะอาด ตำบลสะอาด อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์. ปีที่ 31 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม : น. 65-66.

พระครูปลัดเกษฎา ผาทอง,ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์,บุญทัน ดอกไธสง และ อิสระ สุวรรณบล. (2562). วัฒนธรรมทางการเมือง: แนวคิดสู่การพัฒนาสังคมไทย. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่นปีที่ 6 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนเมษายน–มิถุนายน.

พระครูวินัยธรจักรี ศรีจารุเมธีญาณ. (2561). วัฒนธรรมทางการเมืองกับประชาธิปไตย

ของไทย. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม.

พลอย สืบวิเศษ, (2560). การประชุมทางวิชาการ ประจำปี 2560 ของสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารการพัฒนา: จากปรัชญาสู่การปฏิบัติ” กรุงเทพมหานคร 31 มีนาคม 2560 : น. 208.

วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ. (2548). “วัฒนธรรมทางการเมืองกับการมีส่วนรวมทางการเมืองไทย”. เอกสารการสอนชุดวิชา ปัญหาพัฒนาการทางการเมืองไทย. สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี. โรงพิมพ์ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. หน้า 145 - 196.

วิวัฒน์ เอี่ยมไพรวัน. (2546). วัฒนธรรมทางการเมือง. หลักรัฐศาสตร์เบื้องต้น. บทที่ 11. นนทบุรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. น.71.

วิศรุตา ทองแกมแก้ว. (2557). พัฒนาการวัฒนธรรมทางการเมืองไทย : จาก “ประชาธิปไตย เบ่งบาน” สู่ “การปฏิรูปประเทศ”. สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา.

สมบัติ เจริญธัญวงศ์ (2549). การเมืองไทย. กรุงเทพ: เสมาธรรม.

Gabriel A. Almond & Sidney Verba. (1956). The Civic Culture : Political Attitudes and Democracy in Five Nations. Boston: Little Brown & Company.

Gabriel A. Almond.(1956). Comparative Political System. Journal of Politic, 18 (3), 391-409.

Heywood, A. (1997). Politics. London: Macmillan.

Lucian W. Pye and Sidncy Verba. (1965). Political Culture and Political Development. Princeton: Princeton University Press.