ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ เพื่อศึกษาบริบทและสภาพแวดล้อมแหล่งท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนา ภายใต้การกำหนดรูปแบบ ตลอดจนการนำไปสู่การสร้างยุทธศาสตร์และแนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาในจังหวัดเชียงราย ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน ประชาที่ทำการศึกษาคือ ผู้รู้ ปราชญ์ในชุมชน ศิลปิน พระ เกจิอาจารย์ พิธีกรสงฆ์ที่มีศักยภาพในการให้ข้อมูลโดยการสุ่มแบบ Snow Ball อย่างน้อยจำนวน 3 คนต่อแหล่งท่องเที่ยว ทั้งสิ้น 19 แหล่งท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนา รวมทั้งสิ้น จำนวน 57 คนและบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญทางวัฒนธรรม ศาสนาและการท่องเที่ยวจำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม ใช้ในการศึกษาบริบทและสภาพแวดล้อมแหล่งท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนา แบบสัมภาษณ์ใช้ในการกำหนดรูปแบบ ตลอดจนการสร้างยุทธศาสตร์และแนวทางในการ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาในจังหวัดเชียงราย สำหรับผลการศึกษา พบว่า บริบทและสภาพแวดล้อมของวัดมีความสวยงาม สถาปัตยกรรมที่โดดเด่น มีความงดงาม ทางศิลปวัฒนธรรม มีเส้นทางการท่องเที่ยว การคมนาคมสะดวก เข้าถึงง่ายและมีแหล่งท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรมที่น่าสนใจจำนวนมาก มีระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพและเอื้อต่อการท่องเที่ยวและการรักษาความสะอาด รูปแบบการท่องเที่ยวสามารถแบ่งเป็น 1.แหล่งท่องเที่ยวศิลปกรรมเชิงพุทธศิลป์ร่วมสมัย 2.แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ : เส้นทางการท่องเที่ยวที่1 1-2-3-4-5 3.แหล่งท่องเที่ยวตามเทศกาล ประเพณี และพิธีทางศาสนา และ4. แหล่งท่องเที่ยวนมัสการพระเกจิอาจารย์ (ความเชื่อและศรัทธา) สำหรับผลการศึกษาเพื่อสร้างยุทธศาสตร์ พบว่า ประกอบด้วย 1.การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ทางศาสนาและวัฒนธรรม 2.การพัฒนาบุคลากรในแหล่งท่องเที่ยว ให้มีองค์ความรู้ และการเป็นเจ้าบ้านที่ดี 3.ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว ผ่านสื่อทุกช่องทาง 4.การบูรณาการการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน ในการร่วมบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม 5.ส่งเสริมภาคชุมชนมีส่วนร่วมสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สร้างรายได้สู่ชุมชน ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดเชียงราย คือ ควรมีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว อาทิ การทำป้าย, ทำเว็บ และการพัฒนาที่จอดรถให้เพียงและปลอดภัย, หน่วยงานด้านวัฒนธรรม ควรพัฒนาและส่งเสริมการเตรียมความพร้อมวัดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาและหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวควรมีการส่งเสริมให้วัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดเชียงราย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการสังคมมนุษย์
References
จุฑาภรณ์ หินซุย. (2557). แนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธ กรณีศึกษาวัดประชาคมวนาราม อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ ปีที่10 ฉบับที่1/2557.
นพวรรณ วิเศษสินธุ์และคณะ. (2560). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงพุทธแบบยั่งยืนจังหวัดปทุมธานี.วารสารบัณฑิตศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 (มกราคม –เมษายน). 70-83.
บุษกร ถาวรประสิทธิ์. (2562). ที่ได้ทำการศึกษาถึงแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงพุทธใสจังหวัดสงขลา. วารสารปาริชาติ. ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน). 249-271.
พรหมภัสสร ชุณหบุญญทิพย์. (2566). การท่องเที่ยวเชิงศาสนา ความเชื่อของบุคคล การเรียนรู้ส่วนบุคคล และพฤติกรรม การท่องเที่ยว: หลักฐานเชิงประจักษ์จากนักท่องเที่ยวพระธาตุพนมในประเทศไทย. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน). 1-19.
พระวีระวัฒน์ วีรวฑฺฒโน. (2561). แนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธ กรณีศึกษา 9 วัด ในอำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน. วารสาร มจร นครน่านปริทรรศน์ปีที่ 2 ฉบับที่1 (มกราคม - มิถุนายน 2561) 93-103.
ภัชรบถ ฤทธิ์เต็ม. (2558). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรมในวัด. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีที่ 11 เล่ม 1. 1-23.
ศิวนิต อรรถวุฒิกุล นรินทร์ สังข์รักษา และสมชาย ลักขณานุรักษ์. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงศาสนาของจังหวัดราชบุรี. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ ปีที่ 10 ฉบับที่ 2. (พฤษภาคม – สิงหาคม). 2392-2409.
สายชล ปัญญชิต และภูเบศ วณิชชานนท์. (2558). การท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมของภาคใต้: การพัฒนาเส้นทางและผลกระทบ. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีที่ 18 ฉบับ (มกราคม-ธันวาคม).